Prevalence and Factors Associated with Positive Anti-neutrophil Cytoplasmic Antibody in Graves’ Disease Patients Receiving Antithyroid Medications at Damnoen Saduak Hospital: A Prospective Cohort Study
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการตรวจพบ anti-neutrophil cytoplasm antibody (ANCA) ในคนไข้โรคคอพอกตาชาวไทยก่อนและหลังการรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์ และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ANCA และปัจจัยต่าง ๆ วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ในผู้ป่วยโรคคอพอกตาโปนที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก ตั้งแต่กรกฎาคม 2557 ถึง กรกฎาคม 2563 จำนวน 194 ราย มีผู้ได้รับยา methimazole 170 ราย และ propylthiouracil 24 ราย ตรวจ ANCA ก่อนและหลังเริ่มยาต้านไทรอยด์ หาความชุกด้วยร้อยละ เปรียบเทียบปัจจัยทางคลินิกที่อาจมีผลต่อการตรวจพบ ANCA ด้วย Fisher's exact test และ Mann–Whitney U test ผลการศึกษา: ความชุกของการตรวจพบ ANCA เท่ากับร้อยละ 3.61 มีผู้ป่วย 3 ราย (ร้อยละ 42.86) ตรวจพบ ANCA ก่อนการรักษา และ 4 ราย (ร้อยละ 57.14) พบหลังรักษาแล้ว 3 - 6 เดือน ทุกรายที่ผลตรวจพบ ANCA ไม่พบอาการของหลอดเลือดอักเสบ และพบว่าการตรวจพบ ANCA สัมพันธ์กับการตรวจพบ antinuclear antibodies (ANA) อย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.047) แต่ไม่สัมพันธ์กับเพศ อายุ ชนิดของยาต้านไทรอยด์ ระดับ FT3, anti-thyroid peroxidase, anti-thyroglobulin และ Thyrotropin Receptor Antibodies (TRAb) สรุป: ความชุกของการตรวจพบ ANCA เป็นร้อยละ 3.61สามารถตรวจพบ ANCA ก่อนและหลังการรักษาในผู้ป่วยโรคคอพอกตาโปน การตรวจพบ ANCA สัมพันธ์กับการตรวจพบ ANA การตรวจพบ ANCA ก่อนการรักษาอาจเป็นผลจากภาวะภูมิคุ้มกันจากตัวโรคเองโดยไม่พบอาการและอาการแสดงของหลอดเลือดอักเสบ จึงไม่แนะนำให้ตรวจ ANCA ในผู้ป่วยทุกราย แต่ตรวจในรายที่สงสัยอาการหลอดเลือดอักเสบเท่านั้น คำสำคัญ: anti-neutrophil cytoplasm antibody (ANCA), โรคคอพอกตาโปน, ยาต้านไทรอยด์Abstract Objective: To determine prevalence of anti-neutrophil cytoplasmic antibody (ANCA) positivity in Thai patients with Graves' disease at diagnosis and after treatment with methimazole (MMI) or propylthiouracil (PTU). Method: This prospective cohort study was conducted between July 2014 – July 2020. All 194 patients with GD and treated with PTU (n = 24) or MMI (n = 170) at Damnoen Saduak Hospital were included. Sera were screened for ANCA before and after the start of antithyroid drug treatment. Prevalence of ANCA positivity with percentage. Differences of clinical factors between patients with ANCA positive and negative status were compared with and Fisher's exact test and Mann–Whitney U test. Results: 3.61% of patients with GD were seropositive for ANCA. Three (42.86%) and 4 (57.14%) patients were ANCA positive before and 3 - 6 months after the start of the antithyroid drug treatment. ANCA positivity was significantly associated only with antinuclear antibodies (ANA) (P-value = 0.047), not with gender, age, type of antithyroid drugs, levels of FT3, anti-thyroid peroxidase, anti-thyroglobulin or Thyrotropin Receptor Antibodies (TRAb). Conclusions: ANCA positivity was 3.61% among GD patients, could be found before and after the initiation of drug therapy, and was associated with ANA positivity. ANCA positivity before drug treatment could point to the autoimmune disease nature of GD. Not all GD patients, but those with clinical syndromes might benefit from ANCA determination. Keywords: anti-neutrophil cytoplasm antibody (ANCA), Grave’s disease, antithyroid hormone drugsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์