ความชุกและการปฏิบัติตามกฎหมายของเนื้อหาฉลากและโฆษณาของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อ้างว่าเสริมสมรรถภาพทางเพศชายบนเว็บไซต์ Prevalence and Legal Compliance with Labels and Advertisement of Nutritional Supplement Products with Male Sexual Performance Enhancement
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อระบุจำนวนและสัดส่วนของของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาและเครื่องสำอางที่กล่าวอ้างว่าเสริมสมรรถภาพทางเพศชายที่โฆษณาบนเว็บไซต์ และระบุสัดส่วนและจำนวนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปฏิบัติตามกฎหมายด้านการแสดงเลขสารบบอาหาร, สารสำคัญ, ฉลาก, การแสดงคำเตือน และการโฆษณา วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลครั้งเดียว สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเสริมสมรรถภาพทางเพศชายที่โฆษณาบนเว็บไซต์ สืบค้นบน GoogleTM เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ชื่อการค้าที่ไม่ซ้ำกัน สืบค้นซ้ำสามครั้งในช่วงมิถุนายน-สิงหาคม 2560 นักวิจัยสองคนประเมินข้อมูลอย่างอิสระแล้วนำมาผลมาเปรียบเทียบกัน โดยแจงนับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาและเครื่องสำอางที่กล่าวอ้างสรรพคุณดังกล่าว ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นได้ประเมินตามการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการแสดงเลขสารบบอาหาร, สารสำคัญ, ฉลาก, การแสดงคำเตือน และการโฆษณา โดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเกณฑ์ ผลการศึกษา: ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณดังกล่าวทั้งหมด 210 ผลิตภัณฑ์ ส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (155 ผลิตภัณฑ์หรือร้อยละ 73.81) ในบรรดาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนมากพบว่าเลขสารบบอาหารตรงกับที่แสดงในฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ร้อยละ 74.20) ใน 42 ผลิตภัณฑ์ที่ข้อมูลบนภาพฉลากเพียงพอต่อการประเมิน พบว่าหัวข้อในฉลากที่ปฏิบัติตามกฎหมายมากที่สุดคือ แสดงเลขสารบบอาหาร และคำแนะนำการใช้ (ร้อยละ 100 ทั้งคู่) ส่วนใน 113 ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ข้อมูลอื่นบนเว็บไซต์ร่วมประเมินด้วยนั้นพบเรื่องการแสดงปริมาณที่บรรจุมากที่สุด (ร้อยละ 90.26) มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพียง 31 ผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 20.00) ที่มีส่วนประกอบที่ต้องแสดงคำเตือน แต่ส่วนมากมักไม่แสดงคำเตือน (ร้อยละ 87.10) ผลิตภัณฑ์ส่วนมากแสดงข้อมูลชื่ออาหารในการโฆษณา (ร้อยละ 68.39) สรุป: พบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีมากที่สุดเมื่อเทียบกับยาและเครื่องสำอางที่กล่าวอ้างว่าเสริมสมรรถภาพทางเพศชายบนเว็บไซต์ และการปฏิบัติตามกฎหมายด้านฉลากและการโฆษณายังบกพร่องหลายประเด็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการเฝ้าระวังติดตามควบคุมให้เป็นระบบมากขึ้น และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ยา, เครื่องสำอาง, เสริมสมรรถภาพทางเพศชาย, เว็บไซต์, ฉลาก, คำเตือน, โฆษณาAbstract Objective: To determine proportions of nutritional supplements, drugs and cosmetics with male sexual enhancement claims on websites and proportions of nutritional supplements with the claim of their compliance with related laws and regulations regarding registration number, ingredients, labels, warning, and advertisement. Method: In this cross-sectional descriptive study, data of products (nutritional supplements, drugs and cosmetics) with the claim were search on GoogleTM three times within three months (June – August 2017). Only products with different tradenames were retained. Data were evaluated independently by two researchers and combined after comparisons and agreements. Each of the three types of products were tabulated. For nutritional supplements, their compliance with related laws and regulations were tabulated. Results: Of 210 products with the claim, 155 of them were nutritional supplements (73.81%). Of the 155 nutritional supplements, registration number complied the most (74.20%). Of the 42 products with adequate information from label for valuation, registration number and use instruction complied the most (100.00% for both). Of the 115 products with the additional information from the website, content amount complied the most (90.26%). Only 31 products (20.00%) had ingredients requiring warnings but most of them did not do so (87.10%). For advertisement, most products presented their product names (68.39%). Conclusion: Among products with male sexual enhancement claim on website, nutritional supplements were found the most compared with drugs and cosmetics. Compliance with laws and regulations regarding labels and advertisement was not at an adequate level. Responsible agents should put more effort on systematic vigilance on the products and education for the consumer. Keywords: nutritional supplements, drugs, cosmetics, male sexual performance enhancement, website, labels, warnings, advertisementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์