ตัวแปรที่สัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว Factors Correlated with Drug Expenditures of Sub-district Health Promoting Hospitals in Wattana Nakhon District, Sa Kaeo Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายด้านยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลประชาชนทุกรายที่มารับบริการที่ รพ.สต. ทั้ง 21 แห่ง ใน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ในปีงบประมาณ 2558 – 2561 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรต้นทั้งหมด (กลุ่มอายุ เพศ ประเภทบริการ ขนาดของ รพ.สต. จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระยะทางความห่างไกล การมีบริการขนส่งสาธารณะ และกลุ่มของโรค) และตัวแปรตาม (ค่าใช้จ่ายยาด้านยา) โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สัน และสเปียร์แมน ตามความเหมาะสม ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรตามกับตัวแปรต้นทั้งหมดร่วมกันโดยโมเดลเชิงเส้น (generalized linear model) ผลการศึกษา: พบตัวแปรต้นที่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายด้านยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มอายุ เพศ ประเภทบริการ ขนาดของ รพ.สต. จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระยะทางความห่างไกล และการมีบริการขนส่งสาธารณะ ยกเว้นกลุ่มของโรค (P-value < 0.001) สรุป: ตัวแปรต้นที่พบความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายด้านยา สามารถนำมาปรับใช้ในการพยากรณ์การจัดสรรงบประมาณยาได้ คำสำคัญ: ค่าใช้จ่ายด้านยา, การจัดสรรงบประมาณ, งบประมาณยา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลAbstract Objective: To determine factors potentially correlated with drug expenditure of sub-district health promoting hospitals (SDHPHs). Methods: In this analytic study, all patients receiving service at all 21 SDHPHs in Wattana Nakhon district, Sa Kaeo province were in fiscal year 2015 – 2018 were included. Correlations between independent variables (age group, sex, service type, size of SDHPH, number of healthcare providers, distance of SDHPH from the center hospital, availability of public mass transportation, and disease group) and dependent variable (drug expenditure) were tested using Pearson’s and Spearman’s method, as appropriate. Generalized linear model was used to test associations between drug expenditure and all independent factors. Results: Drug expenditure was significantly associated with age group, sex, service type, size of SDHPH, number of healthcare providers, distance of SDHPH from the center hospital, and availability of public transportation, except disease group (P-value < 0.001). Conclusion: The finding of drug expenditure associated with various factors could be used in budget allocation for SDHPHs. Keywords: drug expenditures, budget allocation, drug budget, sub-district health promoting hospitalsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์