ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชลบุรี Factors Related to Alcohol Drinking in Female Senior High School Students in Chonburi Province

Authors

  • Siriluk Suwannawong
  • Chanandchidadussadee Toonsiri
  • Rungrat Srisuriyawate

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบความสัมพันธ์มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชลบุรี 373 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถูกชักชวน การรับรู้การโฆษณาของสื่อ การรับรู้กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา เก็บข้อมูลเดือนสิงหาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก แสดงผลความเสี่ยงเป็น adjusted odds ratio (adj. OR) และ 95% confidence interval (CI) ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.8 มีประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่เหลือไม่เคยดื่มเลย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียด (adj. OR = 2.15, 95% CI = 1.29 - 3.58) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (adj. OR = 2.60, 95% CI = 1.58 - 4.29) การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (adj. OR = 1.69, 95% CI = 1.01 - 2.82) การถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (adj. OR = 1.84, 95% CI = 1.01 - 3.36) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา (adj. OR = 2.09, 95% CI = 1.16 - 3.78) สรุป: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสัมพันธ์กับความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา ซึ่งควรนำปัจจัยเหล่านี้ไปร่วมพัฒนากิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย คำสำคัญ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ความเครียด, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา, นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย Abstract Objective: To examine associations between alcohol consumption and various factors among female high school. Method: In this correlation research, 373 female senior high school students in Chonburi province were recruited using the simple random technique. Research instruments included questionnaires to gather demographic information, alcohol drinking, stress, alcohol drinking refusal self-efficacy, attitude towards alcohol drinking, access to alcoholic beverages, persuasion to alcohol drinking, perceived media advertisement, parent’s alcohol drinking, and perceived alcohol drinking regulation. Data collected in August, 2019. Descriptive statistics and binary logistic regression analysis were used to analyze the data. Risk was presented as adjusted odds ratio (adj. OR) with 95% confidence interval (CI). Results: 67.8% of participants had at least one alcohol drinking in their life while the rest did not. The significant factors related to alcohol drinking were stress (adj. OR = 2.15, 95% CI = 1.29 - 3.58), alcohol drinking refusal self-efficacy (adj. OR = 2.60, 95% CI = 1.58 - 4.29), access to alcoholic beverages (adj. OR = 1.69, 95% CI = 1.01 - 2.82), persuasion to alcohol drinking (adj. OR = 1.84, 95% CI = 1.01 - 3.36), and parent’s alcohol drinking (AOR = 2.09, 95% CI = 1.16 - 3.78). Conclusion: Alcohol drinking among female senior high school students was associated with stress, alcohol drinking refusal self-efficacy, access to alcoholic beverages, persuasion to alcohol drinking and parent’s alcohol drinking. These factors should be used in developing activities/ programs to reduce alcohol drinking among these students. Keywords: alcohol drinking, stress, alcohol drinking refusal self-efficacy, attitude towards alcohol drinking, access to alcoholic beverages, persuasion to alcohol drinking, perceived media advertisement, parent’s alcohol drinking, perceived alcohol drinking regulation, female senior high school students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-31