ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตครอบครัวและภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะออทิซึมในครอบครัวในประเทศเวียดนาม Relationships between Family Quality of Life and Burden among Family Caregivers of Children with Autism in Vietnam
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครอบครัวและภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะออทิซึมในครอบครัว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตครอบครัวและภาระ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ ดำเนินการที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ของโรงพยาบาลกุมารเวชศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงฮานอยประเทศเวียดนาม สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกในการคัดเลือกครอบครัวผู้ดูแลเด็กออทิสติกจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลประชากร แบบวัดคุณภาพชีวิตครอบครัวของ Beach Center และดัชนีความเครียดผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: ผู้ดูแลในครอบครัวรับรู้คุณภาพชีวิตครอบครัวโดยรวมในระดับต่ำ (M = 1.52, S.D. = 0.22) และภาระในระดับสูง (M = 3.81, S.D. = 0.32) พบมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญระหว่างคะแนนรวมคุณภาพชีวิตครอบครัวและภาระผู้ดูแล ดังนั้นยิ่งคุณภาพชีวิตครอบครัวต่ำลงภาระผู้ดูแลก็ยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว การเลี้ยงดู ความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ กับภาระของผู้ดูแล สรุป: การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลและผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ดูแลครอบครัวและเด็กที่มีภาวะออทิซึม ควรให้ความสำคัญกับการจัดตั้งทีมดูแลสหสาขาวิชา รวมทั้งให้การสนับสนุนครอบครัวมากขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตครอบครัวและจะช่วยลดภาระผู้ดูแลครอบครัว ซึ่งส่งผลลัพธ์ทางบวกสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึม คำสำคัญ: ภาวะออทิซึม, คุณภาพชีวิตครอบครัว, ภาระ, ความสัมพันธ์ ประเทศเวียดนาม Abstract Objective: To examine family quality of life and burden of family caregivers of children with autism, and determine relationships between the family quality of life and burden. Methods: A descriptive correlational study was conducted at the Outpatient Department (OPD) of the National Hospital of Pediatrics located in Hanoi, Vietnam. A convenience sampling method was used to recruit 50 family caregivers of children with autism. Research instruments included a demographic questionnaire, the Beach Center Family Quality of Life Scale and the Modified Caregiver Strain Index. Descriptive statistics and Pearson correlation coefficients were used for data analysis. Results: The family caregivers perceived a low level of the overall family quality of life (M = 1.52, S.D. = 0.22), and a high burden level (M = 3.81, S.D. = 0.32). There is a significant negative correlation between the total score of family quality of life and caregiver burden, therefore, the lower the family quality of life, the higher caregiver burden. Furthermore, there were negative relationships between their subscales of family interaction, parenting, emotional wellbeing and caregiver burden. Conclusion: Nurses and health care providers responsible for family and children with autism should pay more attention to establish a multi-disciplinary care team and provide more family support to increase family quality of life and thereby reduce family caregiver burden. Consequently, positive outcomes for children with autism would also be achieved. Keywords: autism, family quality of life, burden, relationship, VietnamDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์