การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานและการจัดการตนเอง ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ชาวภูฎาน Exploring the Aassociation between Diabetes Distress and Diabetes Self-management Among Bhutanese People with Type 2 Diabetes Mellitus

Authors

  • Kinley Yangdon
  • Khemaradee Masingboon
  • Niphawan Samarkit
  • Saifone Moungkum
  • Panicha Ponpinij

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวาน และการจัดการตนเอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานและการจัดการตนเอง ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ชาวภูฎาน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ในชาวภูฏานที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 105 คน ที่มารับการรักษา ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาล จิกมี่ ดอร์จิ วังชุก ประเทศภูฏาน คัดเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวาน และแบบสอบถามการจัดการตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการตนเองเท่ากับ 7.6 (SD = 1.03) โดยร้อยละ 90.5 ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองอยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 9.5 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ (M ≤ 6) กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีคะแนนเฉลี่ยความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานต่ำ ( M = 1.4, SD = 0.23) ความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางลบกับการจัดการตนเองโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.300, P-value = 0.002) และความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการจัดการตนเองรายด้าน ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (r = -0.244, P-value = .016) และการควบคุมอาหาร (r = -0.193, P-value = 0.048) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการจัดการตนเองด้านการมีกิจกรรมทางกายและการใช้การบริการทางสุขภาพ สรุป: ควรมีการประเมินและหาวิธีการจัดการความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จัดการตนเองได้ดี ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน คำสำคัญ: การจัดการตนเอง, ความยุ่งยากจากการเป็นเบาหวาน, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, เบาหวานชนิดที่ 2, ชาวภูฏานAbstract Objective: To explore diabetes distress and diabetes self-management and its association among the Bhutanese people with type 2 diabetes mellitus (T2DM). Methodology: In this descriptive correlational study, 105 participants with T2DM who came to diabetes clinic of Jigme Dorji Wangchuck National Referral Hospital (JDWNRH) were recruited by a simple random sampling method. Research instruments included the Diabetes Self-Management Questionnaires (DSMQ) and the Diabetes Distress Scale (DDS). Descriptive statistics and Pearson’s correlation were used to analyze the data. Results: Participants had mean DSM score of 7.76 (SD = 1.03), 90.5% of participants reported high scores of the DSM, however, 9.5% of them had scores ≤ 6 which indicated sub-optimal self-management. The results also revealed that 100% of the participant had no to little diabetes distress with the mean diabetes distress score of 1.40 (SD = 0.23). Results from Pearson’s correlation analysis showed that diabetes distress had significant negative association with overall DSM (r = -0.300, P-value = 0.002), and the DSM subscales; glucose management (r = -0.244, P-value = 0.016) and dietary control (r = -0.193, P-value = 0.048). However, there were no significant correlations between DD and physical activity subscale and healthcare use subscale of the DSM. Conclusion: Regular assessment and management of diabetes distress among people with T2DM is necessary for DSM improvement with the aim to promote good glycemic control and reduce the risk of diabetes complications. Keywords: diabetes self-management, diabetes distress, glucose management, type 2 diabetes mellitus, Bhutanese

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-31