การตรวจสอบคุณสมบัติเชิงจิตวิทยาของแบบวัดผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ฉบับภาษาไทย ในผู้สูงอายุที่มีภาวะการทำงานของไตลดลง Psychometric Validation on Successful Aging Inventory Thai Version in Older Adults with Kidney Function Decline

Authors

  • Nada Ngammoh
  • Aporn Deenan
  • Waree Kangchai

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงของแบบวัดผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จฉบับภาษาไทย ในผู้สูงอายุที่มีภาวะการทำงานของไตลดลง วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ ดำเนินการขั้นที่ 1 โดยแปลแบบวัดต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญสองภาษาคนที่หนึ่งและการแปลย้อนกลับจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชี่ยวชาญสองภาษาคนที่สอง หลังจากนั้นเปรียบเทียบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในประเด็นความเหมือน ความแตกต่าง ความคลาดเคลื่อน แล้วปรับปรุงเป็นแบบวัดฉบับภาษาไทย ให้มีเนื้อหาเท่าเทียมต้นฉบับและสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย ขั้นที่ 2 นำแบบวัดฉบับภาษาไทยให้ผู้สูงอายุที่มีการทำงานของไตลดลงที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก 350 ราย ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม AMOS และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการศึกษา: พบว่าแบบจำลองที่ดีที่สุดของแบบวัดผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จฉบับภาษาไทยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อยที่มีข้อคำถามทั้งหมด 20 ข้อ (CMIN = 132.91, df = 116, P-value = 0.14, CMIN/df = 1.15, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, NFI = 0.97, CFI = 1.00 และ RMSEA = 0.02) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และขององค์ประกอบย่อยอยู่ระหว่าง 0.64 - 0.84 สรุป: แบบวัดผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จฉบับภาษาไทยที่พัฒนาจากการแปลย้อนมีความตรงเชิงโครงสร้างที่ดีและความเชื่อมั่นที่น่าพอใจ สามารถนำแบบวัดนี้ไปใช้กับผู้สูงอายุชาวไทย และควรศึกษาเพิ่มในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายมากขึ้น คำสำคัญ: แบบวัดผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ, ฉลับภาษาไทย, การแปลย้อนกลับ, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ผู้สูงอายุที่มีภาวการณ์ทำงานของไตลดลง Abstract Objective: To examine construct validity and reliability of the Successful Aging Inventory Thai (SAI) version in older adults with kidney function decline. Method: This cross-sectional descriptive study was conducted in two steps. In the back-translation process, a bilingual expert translated the original Successful Aging Inventory English language to Thai language, and the other bilingual expert translated back to English language. The other three bilingual experts checked similarity and differences, discrepancies, and assured equivalence with cultural justification. The final Thai version was administered to 350 older adults with kidney function decline at the outpatient department. Data were analyzed using confirmatory factor analysis by AMOS and Cronbach’ alpha coefficients. Results: It was found that the fit model contained 4 subscales with 20 items (CMIN = 132.91, df = 116, P-value = 0.14, CMIN/df = 1.15, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, NFI = 0.97, CFI = 1.00 and RMSEA = 0.02). Cronbach’s alpha coefficients for the total scale was 0.89 and for subscales were 0.64 to 0.84. Conclusion: The SAI-Thai version showed good construct validity and acceptable reliability. It could be used in Thai elderly and should tested in a wider Thai elderly population. Keywords: Successful Aging Inventory, Thai version, back-translation, confirmatory factor analysis, older adults with kidney function decline

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-31