ความเข้มแข็งทางจิตใจในวัยรุ่นตอนต้นที่อาศัยอยู่ในบ้านพักสำหรับเด็กและปัจจัยทำนาย Resilience in Early Adolescents Living in Homes for Children and Its Predictors

Authors

  • Narunest Chulakarn
  • Nujjaree Chaimongkol
  • Pornpat Hengudomsub

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางจิตใจในวัยรุ่นตอนต้นที่อาศัยอยู่ในบ้านพักสำหรับเด็กและปัจจัยทำนายความเข้มแข็งทางจิตใจ ประกอบด้วยการเชื่อมต่อทางสังคม พฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหา อัตมโนทัศน์ และความผูกพันในโรงเรียน วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง สุ่มตัวอย่างตามสะดวกโดยคำนวณจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของเด็กในแต่ละบ้านพักสำหรับเด็ก ผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งเป็นวัยรุ่นตอนต้น 216 คน อายุ 10 - 14 ปี ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักสำหรับเด็กในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวบรวมข้อมูลช่วงกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2562 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองจำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัจจัยป้องกันด้านบุคคล แบบประเมินการเชื่อมต่อทางสังคม แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ไขปัญหา แบบวัดอัตมโนทัศน์ และแบบประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนใช้เพื่อประเมินตัวแปรความผูกพันในโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพรรณนาและการถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางจิตใจโดยรวมเท่ากับ 76.19 ± 7.37 คะแนน ถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง การเชื่อมต่อทางสังคมและพฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหาเป็นปัจจัยทำนายที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 24.6 ของความแปรปรวนของความเข้มแข็งทางจิตใจ (adjusted R2 = 0.239, F1,123 = 4.370, P < 0.05) ปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดคือพฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ไขปัญหา (β = 0.447) รองลงมาคือการเชื่อมต่อทางสังคม (β = 0.129) สรุป: ความเข้มแข็งทางจิตใจของวัยรุ่นตอนต้นที่อาศัยอยู่ในบ้านพักสำหรับเด็กมีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหาและการเชื่อมต่อทางสังคมมากเป็นปัจจัยทำนายความเข้มแข็งเข้มแข็งทางจิตใจในวัยรุ่นกลุ่มนี้ คำสำคัญ: วัยรุ่นตอนต้น, บ้านพักสำหรับเด็ก, พฤติกรรมการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ไขปัญหา, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, การเชื่อมต่อทางสังคม Abstract Objective: To examine resilience in early adolescents living in homes for children and its predictors including social connectedness, problem-focused coping, self-concept, and school engagement. Method: A cross-sectional design was employed. A convenience sampling with sample size proportional to numbers of children living in each home for children was used to recruit participants of 216 young adolescents aged 10-14 years living in homes for children in Bangkok metropolitan region. Data collection was carried out from September to October 2019. Research instruments included 6 self-administered questionnaires of demographic characteristics, the Resilience Factors scale, the Social Connectedness scale-revised, the problem-focused coping scale, the Self-concept scale, and the Classroom Engagement Inventory. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. Results: The results revealed that a total mean score of resilience was 76.19 ± 7.37 points which was considered a high level. Social connectedness and problem-focused coping were significant predictors accounting for 24.6% of resilience variance (adjusted R2 = 0.239, F1,123 = 4.370, P < 0.05). The best predictor was problem-focused coping (β = 0.447) followed by social connectedness (β = 0.129). Conclusion: Resilience of early adolescents living in homes for children was at a high level. Problem-focused coping and social connectedness significantly predicted resilience among these adolescents. Keywords: early adolescents, homes for children, problem-focused coping, resilience, social connectedness

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-31