ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น Associations between Nutrition Label Literacy and Label Information Applications among First-year Students at Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, Thailand
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการ พฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการในการเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารและความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านฉลากโภชนาการกับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 124 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสถิติ Chi-square test ผลการศึกษา: ความรอบรู้ด้านการประเมินข้อมูลฉลากโภชนาการ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติและด้านการเข้าถึงข้อมูลฉลากโภชนาการอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 73.39, 72.58 และ 68.55 ตามลำดับ) ส่วนความรอบรู้ด้านความเข้าใจฉลากโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.48) ส่วนพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.23) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึง ด้านการประเมินและด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.001, < 0.001 และ < 0.001 ตามลำดับ) ส่วนด้านความเข้าใจฉลากโภชนาการไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ สรุป: ความรอบรู้ด้านการเข้าถึง ด้านการประเมินและด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ คำสำคัญ: ความรอบรู้, ฉลากโภชนาการ, พฤติกรรมการใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการ, การเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร Abstract Objective: To determine the level of nutrition label literacy, behaviors of applying information from nutrition labels for consuming and buying products, and the relationships between nutrition label literacy and the behaviors of applying information from nutrition labels for consuming and buying products. Method: In this cross-sectional analytical research, 124 1st year students at Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, Thailand, were selected randomly. Participants were tested for understanding and asked to rate their opinions on literacy of nutrition labels and behavior of applying nutrition label information. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, median, interquartile range (IQR) and Chi-square Test. Results: 73.39% of the participants had a high level of the appraisal of nutrition labeling information and 72.58% had a high level of decision-making. 68.55% had a high-level accessibility of nutrition label information, 60.5% had a moderate level of understanding about nutrition labeling. Moreover, 53.23% showed moderate level of applying information. The behavior of using food label information was significantly associated with access to nutrition label information, appraisal of nutrition label information and decision making in purchasing food products (P-value = 0.001, < 0.001, and < 0.001, respectively). Understanding about nutrition labeling had no association with the behavior. Conclusion: Access to nutrition label information, appraisal of nutrition label information and decision-making literacy were significantly associated with the behavior of using food label information. Keywords: literacy, nutrition labels, behavior of applying nutrition label information, consuming and buying food productsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-03-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์