โฟมทางเครื่องสำอางและการประยุกต์ใช้ Cosmetic Foam and Its Applications
Abstract
บทคัดย่อ โฟมทางเครื่องสำอางเป็นระบบซึ่งประกอบด้วยก๊าซกระจายตัวในของเหลวหรือกึ่งแข็ง โดยเตรียมในรูปแบบสารละลายของสารก่อโฟม หรืออิมัลชันที่มีอัตราส่วนของก๊าซในปริมาณต่ำซึ่งเกิดเป็นฟองโฟมขณะใช้ผลิตภัณฑ์ โครงสร้างของฟองโฟมมีลักษณะเป็นฟองก๊าซที่หุ้มด้วยของเหลว โดยมีสารก่อโฟมเรียงตัวในลักษณะผลึกเหลวที่ผิวสัมผัสของสองวัฏภาค ความแข็งแรงจากการจัดเรียงตัวดังกล่าวส่งผลต่อความคงตัวของฟองโฟม ทั้งนี้ความคงตัวของฟองโฟมขึ้นกับชนิดและปริมาณของสารก่อโฟมและยังสัมพันธ์กับความหนืดของผลิตภัณฑ์ สารเพิ่มฟองสามารถเพิ่มอัตราการเกิดฟองโฟมได้ การประเมินที่สำคัญของผลิตภัณฑ์โฟมทางเครื่องสำอางเป็นการประเมินความสามารถและความคงตัวในการเกิดฟองโฟม การเตรียมโฟมสามารถเตรียมได้หลายวิธีขึ้นกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ทั้งนี้สามารถประยุกต์โฟมทางเครื่องสำอางได้หลายอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์โกนหนวด ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม คำสำคัญ: โฟม, เครื่องสำอาง, การประยุกต์ Abstract Cosmetic foam is a system comprising gas dispersed in fluid or semi-solid prepared in forms of foaming agent solution or emulsion containing gas at low ratio that could generate foam during application. Foam structure contains an air bubble in-folding with fluid comprising foaming agent layer as liquid crystal at interface. The strength of such arrangement influences the foam stability. Foam stability depends on type and amount of foaming agent and relates to the viscosity of product. The foam booster could enhance the rate of foam generation. The main evaluation of cosmetic foam concentrates on its capacity of foam formation and foam stability. There are many foam preparation techniques depending on the desired product. Cosmetic foam could be applied variously such as cleaning, shaving, hair styling products. Keywords: foam, cosmetic, applicationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-09-26
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์