พฤกษเคมีและฤทธิ์ในการลดเลือนริ้วรอยของสารสกัดกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน Phytochemical Study and Anti-wrinkle Activity of Blue Clitoria ternatea L. Petal Extract
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิก กลุ่มฟลาโวนอยด์ และกลุ่มแอนโทไซยานินที่มีในสารสกัดกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดเลือนริ้วรอยจากการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส เอนไซม์คอลลาจีเนส และเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสของสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน วิธีการศึกษา: สกัดสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงินด้วย 80% เอทานอล และระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องกลั่นระเหยแบบหมุน วิเคราะห์ปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteu วิเคราะห์ปริมาณฟลาโวนอยด์ด้วยวิธีการวัดสีของสารประกอบอลูมิเนียมคลอไรด์ วิเคราะห์ปริมาณรวมของแอนโทไซยานินด้วยวิธีการวัดในสภาวะต่าง pH และศึกษาฤทธิ์ลดเลือนริ้วรอยโดยศึกษาการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตสและคอลลาจีเนสด้วยวิธี spectrophotometric และศึกษาการยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสด้วยวิธี colorimetric โดยรายงานผลเป็นความเข้มข้นของสารที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ร้อยละ 50 (IC50) ผลการศึกษา: สารสกัดกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน 1 g มีปริมาณรวมของฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และแอนโทไซยานิน เทียบเท่ากรดแกลลิก 43.96 mg, เทียบเท่าเควอเซติน 3.33 mg และเทียบเท่าไซยานิดิน 0.026 mg ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ลดเลือนริ้วรอยพบว่า สารสกัดกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงินมีค่า IC50 ในการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตสและเอนไซม์คอลลาจีเนส เท่ากับ 4.47 mg/ml และ 3.60 mg/ml ตามลำดับ แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสมากที่สุดที่ความเข้มข้น 17 mg/ml (ร้อยละการยับยั้ง 31.38%) สรุป: สารสกัดกลีบดอกอัญชันสีน้ำเงินมีพฤกษเคมีกลุ่มฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบมากที่สุด และมีฟลาโวนอยด์และแอนโทไซยานินตามลำดับ และมีฤทธิ์ลดเลือนริ้วรอยจากการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตสและเอนไซม์คอลลาจีเนสได้ดี แต่ไม่มีประสิทธิผลในการยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส คำสำคัญ: กลีบดอกอัญชันสีน้ำเงิน, พฤกษเคมี, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส Abstract Objective: To determine total phytochemical contents, including phenolic, flavonoid and anthocyanin of blue C. ternatea L. extract and to investigate its anti-wrinkle activity from anti-elastase, anti-collagenase, and anti-hyaluronidase activities. Methods: The pulverized blue C. ternatea L. petal was extracted by 80% ethanol and evaporated by a rotary evaporator. Total phenolic, flavonoid, and anthocyanin contents were determined by Folin-ciocalteu, AlCl3 complexation colorimetric, and pH differential methods based on gallic acid, quercetin, and cyanidin standard curves, respectively. Anti-elastase and anti-collagenase activities were determined by spectrophotometric method with gallic acid as a positive control. Anti-hyaluronidase activity was determined by the colorimetric method with quercetin as a positive control. Results: Total phenolic, flavonoid, and anthocyanin contents of blue C. ternatea L. petal extract were found at 43.96 mgGAE, 3.33 mgQE, and 0.026 mgCE per 1 g of extract, respectively. The inhibition activity of blue C. ternatea L. petal extract on elastase and collagenase exhibited IC50 values of 4.47 and 3.60 mg/ml, respectively. It showed the most active hyaluronidase inhibition at 17 mg/ml (31.38% hyaluronidase inhibition). Conclusion: The phytochemistry including phenolic, flavonoid, and anthocyanin were found in blue C. ternatea L. petal extract with the highest amount of phenolic compound. The extract showed anti-wrinkle activity on anti-elastase and anti-collagenase, while it showed low anti-hyaluronidase activity. Keywords: blue Clitoria ternatea L. petal, phytochemical contents, anti-elastase, anti-collagenase, anti-hyaluronidaseDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-09-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์