Factors Affecting Renal Adverse Reactions in HIV Infected Patients Receiving Tenofovir Disoproxil Fumarate at Damnoen Saduak Hospital

Authors

  • Chattraporn Chumchit

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางไตของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF) และระยะเวลาที่พบอาการไม่พึงประสงค์ทางไตที่ได้รับยา TDF วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายของโรงพยาบาลดำเนินสะดวกที่ได้รับยา TDF ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ถึง 30 เมษายน 2564 จำนวน 415 คน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางไต (ค่า glomerular filtration rate (eGFR) ลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ก่อนเริ่มยา TDF) กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วย multiple logistic regression และเวลาที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วย multiple linear regression ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 41.63 ± 11.92 ปี พบผู้ที่มีค่า glomerular filtration rate (eGFR) ลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ร้อยละ 9.64 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อไตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การมีค่า eGFR ก่อนเริ่มยา TDF น้อยกว่า 90 ml/min/1.73m² (adjusted OR or aOR = 4.14; 95% CI = 1.74, 9.89) มีเบาหวานเป็นโรคร่วม (aOR = 4.46; 95% CI = 1.65, 12.11) ส่วนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีนานกว่า 120 เดือน สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่น้อยลง (aOR = 0.36; 95% CI = 0.13, 1.00) พบว่าระยะเวลาของการรับยาต้านไวรัสเอชไอวีที่นานมีผลต่อระยะเวลาที่พบอาการไม่พึงประสงค์ทางไตที่ช้าลง (B = 0.39; 95% CI = 0.13 – 0.65) สรุป: ปัจจัยที่เสริมความเสี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้แก่ ค่า eGFR ก่อนเริ่มยา TDF น้อยกว่า 90 ml/min/1.73m² และการมีเบาหวานเป็นโรคร่วม ปัจจัยที่ลดความเสี่ยง ได้แก่ การใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีนานกว่า 120 เดือน เมื่อใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีนานขึ้นเวลาที่พบอาการไม่พึงประสงค์ทางไตก็นานขึ้น คำสำคัญ: ทีโนโฟเวียร์ ไดโซพรอกซิล ฟูมาเรต, อาการไม่พึงประสงค์ทางไต, ผู้ป่วยเอชไอวี, ปัจจัยเสี่ยงAbstract Objective: To examine factors affecting renal adverse reactions and onset of renal adverse reactions in HIV-infected patients receiving tenofovir disoproxil fumarate (TDF). Methods: In this retrospective analytical study, 415 patients with HIV-infected patients in Damnoen Saduak hospital who received TDF between 15 May 2010 and 30 April 2021 were recruited. Association between renal adverse reactions, i.e., glomerular filtration rate (eGFR) decrease of more than 25% before TDF initiation, and various factors was tested using multiple logistic regression analysis; while time to the renal adverse reactions with factors was tested using multiple linear regression. Results: Patients were 41.63 ± 11.92 years old by average. 9.64% of them had a significant decrease in eGFR more than 25%. Factors significantly associating with increased risk of renal adverse reactions included initial eGFR of less than 90 ml/min/1.73m² (adjusted OR or aOR = 4.14; 95% CI = 1.74, 9.89) and diabetes mellitus (aOR = 4.46; 95% CI = 1.65, 12.11); while antiretroviral (ARV) drug use of more than 120 months was associated with a reduced risk (aOR = 0.36; 95% CI = 0.13, 1.00). Longer duration of ARV drug use was associated with longer (or slower) onset of renal adverse reaction (B = 0.39; 95% CI = 0.13 – 0.65). Conclusion: Factors increased the risk of renal adverse reaction included eGFR before TDF initiation of leass than 90 ml/min/1.73m² and diabetes mellitus; while the use of ARV drug more than 120 months decreased the risk. The longer the ARV drug use, the longer the onset of the renal adverse reaction use. Keywords: tenofovir disoproxil fumarate, renal adverse reaction, HIV, risk factor

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-09-26