Effectiveness of Modified Premedication Regimen on Hypersensitivity Reactions in Colorectal Cancer Patients Receiving FOLFOX Chemotherapy: A Pilot Study
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: การศึกษานำร่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้ยานำก่อนให้เคมีบำบัดระหว่างสูตรดั้งเดิมและสูตรที่มีการปรับปรุง วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงสังเกตย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจำนวน 58 คน ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปและได้รับยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX-4 หรือ mFOLFOX-6 ณ โรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึง มกราคม พ.ศ. 2563 ยานำก่อนให้เคมีบำบัดสูตรดั้งเดิม (สูตร 1) ประกอบด้วยยา dexamethasone 8 - 12 mg ยานำสูตรปรับปรุง (สูตร 2) ประกอบด้วยยา dexamethasone 20 mg ร่วมกับยา ranitidine 50 mg และ chlorpheniramine maleate 10 mg ผลการศึกษา: ความชุกของการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินโดยรวมของยาทั้งสองสูตรมีค่าประมาณ 31.0% โดยส่วนใหญ่ (38.9%) เกิดเพียงครั้งเดียว และมักเป็นความรุนแรงในระดับปานกลาง (ระดับ 2) ผู้ป่วยที่ได้รับยานำเคมีบำบัดสูตร 2 มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินน้อยกว่าการได้รับยานำสูตร 1 ถึง 85% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Incidence Rate Ratio 0.15; 95% CI 0.05 to 0.42; P-value <0.001) การมีอายุน้อยกว่า 60 ปี เป็นเพศหญิง มีประวัติได้รับยาเคมีบำบัดแพลทินัมรุ่น 3 และการได้รับยาเคมีบำบัดสูตร mFOLFOX-6 มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การเพิ่มขนาดยา dexamethasone ร่วมกับการให้ยา ranitidine และ chlorpheniramine maleate ลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ทั้งนี้ด้วยขนาดตัวอย่างที่เล็ก จึงยังต้องทำงานวิจัยที่มีขนาดตัวอย่างใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ยืนยันผลการศึกษาดังกล่าวต่อไป คำสำคัญ: มะเร็งลําไส้ใหญ่และลำไส้ตรง, ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน, ยาเคมีบำบัด, ยานำก่อนให้เคมีบำบัดAbstract Objective: To examine the prevalence of and factors associated with hypersensitivity reactions (HSRs) and to compare the effectiveness of traditional chemotherapy premedication to a modified preventive regimen. Method: In this retrospective observational study, we used data from 58 colorectal cancer patients aged 20 years or older receiving FOLFOX-4 or mFOLFOX-6 at Phayao Hospital from January 2017 and January 2020. The traditional premedication (Regimen 1) consisted of dexamethasone 8 - 12 mg. The modified premedication (Regimen 2) consisted of dexamethasone 20 mg plus ranitidine 50 mg and chlorpheniramine maleate 10 mg. Results: The prevalence of HSR in both preventive regimens was approximately 31.0%. Most of HSR incidences (38.9%) occurred only once with moderate severity (Grade 2). Rate of HSR with Regimen 2 was 85% lower than that of Regimen 1 with statistical significance (incidence rate ratio = 0.15; 95% CI = 0.05 to 0.42; P-value < 0.001). Age less than 60 years, being female, having a history of receiving third-generation platinum chemotherapy, and receiving mFOLFOX-6 chemotherapy tended to be related to HSR. However, the associations did not reach statistical significance. Conclusion: Increasing dexamethasone dosage while adding ranitidine and chlorpheniramine maleate into the regimen may reduce the HSR rate. Due to the small sample size, a larger study is required to confirm these findings. Keywords: colorectal cancer, hypersensitivity reaction, chemotherapy, premedicationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-09-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์