การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่: การวิจัยเชิงคุณภาพ Perceptions on Safety Culture among Hang Dong Hospital Personnel, Chiang Mai Province: A Qualitative Study
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการให้ความหมายและลักษณะของวัฒนธรรมความปลอดภัยในมุมมองของบุคลากร และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา : งานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากบุคลากรของโรงพยาบาลหางดง จ.เชียงใหม่ ตามระดับการปฏิบัติงาน จำนวน 36 ราย รวบรวมข้อมูลโดยแนวคำถามกึ่งโครงสร้างและคำถามปลายเปิดเพื่อเก็บข้อมูลระหว่างมีนาคมถึงมิถุนายน 2562 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา : บุคลากรของโรงพยาบาลหางดงรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผ่าน 7 คุณลักษณะ คือ 1) มีเป้าหมายร่วมกันในเรื่องความปลอดภัย 2) มีการปฏิบัติงานตามแบบแผนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัย 3) มีฐานคิดและพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัยจนเป็นนิสัย 4) มีการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยไม่ให้เกิดขึ้น 5) ทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความปลอดภัย 6) ยอมรับข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำ 7) มีการถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดการความปลอดภัย ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยประกอบด้วยปัจจัยด้านผู้นำ ด้านการจัดการองค์กร และปัจจัยส่วนบุคคล โดยทั้ง 3 ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของบุคลากรของโรงพยาบาลหางดง สรุป : องค์กรมีทั้ง 7 คุณลักษณะของวัฒนธรรมความปลอดภัยได้โดยการบูรณาการส่วนผสมของปัจจัยทั้ง 3 คือผู้นำ การจัดการองค์กร และปัจจัยส่วนบุคคล เข้าด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลต่อค่านิยมในแต่ละองค์กร จนเกิดเป็นพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของบุคลากร นำไปสู่องค์กรแห่ง “วัฒนธรรมความปลอดภัย”คำสำคัญ : วัฒนธรรมความปลอดภัย, ความปลอดภัยของผู้ป่วย, ประกันคุณภาพโรงพยาบาลAbstract Objectives: To explore the meaning and nature of safety culture perceived by hospital personnel, and to search for factors affecting the development of safety culture at Hang Dong Hospital, Chiang Mai Province. Method: This study was a qualitative research by in-depth interview. Sample was 36 workers of Hang Dong Hospital selected by purposive sampling, according to their management level. We used semi-structured and open-ended questions to collect data from March to June 2019, and analyzed the data by content analysis. Results: Hospital personnel recognized safety culture through 7 characteristics; 1) sharing a common goal for safety, 2) working in accordance with the action plans for quality and safety, 3) having basic mindsets and behaviors for working with safety, 4) employing surveillance systems for preventing unsafe incidents, 5) working as a team for safety environment, 6) accepting an error and preventing repeated errors, and 7) having process for knowledge transferring in safety management. Factors contributing to the development of a safety culture included leadership, organizational management, and personal factors. These three set of factors supported the development of safe behavior among personnel at Hang Dong Hospital. Conclusion: An organization develops the seven characteristics of a safety culture by integrating leadership, organizational management, and personal factors together. This combination affects personal value, which will form a safe working behavior, resulting in the organization of "safety culture." Keywords: safety culture, patient safety, hospital quality assuranceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-09-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์