Feasibility of the Motivational Interview based Adherence Therapy (MIAT) with Family Support Program to Promote Medication Adherence for Persons with Schizophrenia
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาโดยบูรณาการการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุนในครอบครัวสำหรับบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภท วิธีการศึกษา: การศึกษานำร่องนี้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยจิตเภท 8 คนและญาติผู้ดูแลหลัก 8 คนที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของแผนกสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.บุรี เป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ช่วงอายุ 20 - 59 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคไม่เกิน 5 ปี และมีประวัติการเข้ารับการรักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลจากอาการทางจิตกำเริบเนื่องจากปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาทางจิตเวช เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการหยั่งรู้การเจ็บป่วยและทัศนคติต่อการรักษา แบบประเมินทัศนคติต่อยาต้านโรคจิตของฮอแกนแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยา โปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาฯ และแบบประเมินผลการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยจิตเภทเข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 45 - 60 นาที ผู้ดูแลหลักในครอบครัวเข้าร่วมโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 3 และ 6 ประเมินความร่วมมือทั้งสามด้านที่ก่อนและหลังกิจกรรม และติดตามที่ 1 เดือนหลังกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ ผลการศึกษา: หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความหยั่งรู้การเจ็บป่วย ทัศนคติต่อความร่วมมือในการใช้ยา และพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้ยาในระยะหลังการเข้าร่วมโปรแกรมและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าในระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.05 กลุ่มตัวอย่างและผู้ดูแลหลักในครอบครัวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในกิจกรรมของโปรแกรมและแนะนำการปรับเปลี่ยนที่สามารถทำตามได้ สรุป: โปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาโดยบูรณาการการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุนในครอบครัวมีความเป็นไปได้ในการนำมาทดลองขนาดใหญ่ต่อไป คำสำคัญ: ผู้ที่เป็นโรคจิตเภท, การบำบัดเพื่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง, การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, ความร่วมมือในการรับประทานยา, การสนับสนุนในครอบครัว, การศึกษาความเป็นไปได้Abstract Objective: To examine the feasibility of the Motivational Interview based Adherence Therapy (MIAT) with family support program. Method: This pilot study used purposive sampling to recruit 8 patients with schizophrenia and their major family caregivers. These patients received outpatient treatment at the Mental Health and Psychiatric Department, Abhakorn Kiattiwong Hospital, Sattahip Naval Base, Chon Buri province, Thailand. They were in adulthood (age 20 - 59 years), with diagnosis of schizophrenia disorder within 5 years, and with a previous history of re-hospitalization due to recurrent severe psychiatric symptoms from medication non-compliance. Instruments included demographic data record form, the Insight and Treatment Attitude Questionnaire, the Hogan Drug Attitude Inventory, the Medication Adherence Questionnaire, the MIAT with family support program, and a program evaluation questionnaire. Schizophrenic patients participated in 6 weekly sessions, 45 - 60 minutes per sessiom. Family caregiver for each patient participated in 3rd and 6th week. Three aspects of adherence were assessed at before and after 6 sessions, and 1 month follow-up after the last session. Descriptive statistics and repeated measures ANOVA were used to analyze the data. Results: Scores of insight into illness, adherence attitude, and adherence behavior at post-test and follow-up were significantly higher than the pre-test (P-value < 0.05 for all). The participants and family caregivers were satisfied with the program’s activities. Suggestions were feasible to adjust the program. Conclusion: The Motivational Interview based Adherence Therapy (MIAT) with family support program was feasible for further studies with a larger sample size. Keywords: persons with schizophrenia, adherence therapy, motivational interview, medication adherence, family support, feasibility studyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-09-26
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์