Effects of Training Program by Multidisciplinary Team on Knowledge and Practice of Patients or Caregivers for Infection Prevention and Drug Therapy Problems in Peritoneal Dialysis Patients in Jainad Narendra Hospital

Authors

  • Nongluck Khanon
  • Chuleegone Sornsuvit
  • Penkarn Karnganarat

Abstract

 บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis; CAPD) อุบัติการณ์การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง และปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วย CAPD หรือผู้ดูแลที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จำนวน 64 คน แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามการนัดสัปดาห์คู่คี่กลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ในการดูแลตนเอง การปฏิบัติตัวตามขั้นตอนการล้างไตทางช่องท้อง และปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทีคู่และทีอิสระ สถิติฟิชเชอร์ ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การดูแลตนเองในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (26.8 และ 22.1, P-value < 0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (160.1 และ 136.5 คะแนน, P-value < 0.001) จำนวนปัญหาจากการใช้ยาหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (1.1 และ1.6 ปัญหา) อุบัติการณ์การติดเชื้อกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (0.0003 และ 0.001 ครั้งต่อผู้ป่วย-วัน, P-value = 0.33) สรุป: โปรแกรมการการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถเพิ่มความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองในผู้ป่วย CAPD เมื่อเทียบกับการรักษาตามปกติ อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์การติดเชื้อใน 3 เดือนของกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมไม่ต่างกับการรักษาตามปกติ คำสำคัญ: โปรแกรมการฝึกอบรม, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, การติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง, ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาAbstract Objective: To study effects of the Training Program by Multidisciplinary Team for Infection Prevention of CAPD (TPMTIP) on knowledge and practice of patients or caregivers for infection prevention in continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) patients, incidence of CAPD related infections and drug therapy problems (DRPs). Method: In this quasi-experimental research with two group pretest-posttest design, 64 CAPD patients were assigned to either control group or TPMTIP (test) group (n = 32 each) if they received care in odds or even week, respectively. The test group received training program by multidisciplinary team on knowledge and practice of patients or caregivers, while the control group received usual care, each for 12 weeks. We collected data of personal characteristics, self-care knowledge, self-assessment of CAPD practice, and DRPs at pre-and post-test. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square test, paired t test, independent t test, and Fisher’s exact test. Results: At wee k12, both mean scores of self-care knowledge and CAPD actual practice in the test group were significantly higher than the control group (26.8 and 22.1 points, respectively, P-value < 0.001; 160.1 and 136.5 points, respectively, P-value < 0.001). Number of DRPs in the test group was lower than the control group (1.1 and 1.6 problems, respectively). Incidence of CAPD related infections was lower in the test group but with no statistical significance (0.0003 and 0.001 episode per patient-days, P-value = 0.33). Conclusion: TPMTIP could increase self-care knowledge and practice to prevent CAPD related infctions. However, the incidence of infections with TPMIP was not different from that with the usual care. Keywords: training program, multidisciplinary team, infection in peritoneal dialysis patients, continuous ambulatory peritoneal dialysis, drug therapy problems

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-09-26