ยาฉีดไซโปรเทอโรนอะซีเตทปลดปล่อยนาน ชนิดใช้น้ำมันมะพร้าวผสมตัวทำละลายเป็นน้ำกระสายยา Cyproterone Acetate Sustained-Release Injection Using Mixed Coconut Oil/Solvent as Vehicle

Authors

  • Sarun Tuntarawongsaongsa
  • Sumuntana Anuchatkidjaroen
  • Sai Myo Thu Rein
  • Thawatchai Phaechamud

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: ไซโปรเทอโรนอะซีเตทมีจำหน่ายทางการค้าในรูปแบบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การศึกษานี้เตรียมและประเมินตำรับยาฉีดไซโปรเทอโรนอะซีเตทออกฤทธิ์นานโดยใช้น้ำกระสายยาเป็นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะพร้าวผสมตัวทำละลาย วิธีการศึกษา: เตรียมยาฉีดไซโปรเทอโรนอะซีเตทในน้ำกระสายยาที่เป็นน้ำมันมะพร้าวที่เติมสารยับยั้งการเกิดไขชนิดสารที่ชอบน้ำ คือ เอ็นเมทิลไพร์โร- ลิโดน และชนิดไม่ชอบน้ำ คือ เบนซิลเบนโซเอต และ น้ำมันเปเปอร์มินท์ ผลการศึกษา: การเติมไซโปรเทอโรนอะซีเตทไม่เปลี่ยนสมบัติกายภาพเคมีของน้ำมันมะพร้าว เช่น อุณหภูมิต่ำสุดที่ยังสามารถตรวจวัดความหนืดได้ อุณหภูมิจุดไหล และอุณหภูมิที่เริ่มมีไขปรากฏ ทั้งนี้การเติมสารยับยั้งไขมีผลให้อุณหภูมิที่เริ่มมีไขปรากฏต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส (°C) การผสมกับน้ำมันเปเปอร์มินท์สามารถลดจุดไหลจากอุณหภูมิ 19 °C เป็น 6 °C และพบว่าอุณหภูมิต่ำสุดที่ยังตรวจวัดความหนืดได้ ซึ่งพิสูจน์การเปลี่ยนจากสถานะน้ำมันเป็นสารกึ่งแข็ง มีค่าอุณหภูมิที่ลดลงจาก 10 °C เป็นน้อยกว่า 4 °C เพราะประสิทธิภาพของสารยับยั้งไข ได้แก่ เอ็นเมทิลไพร์โรลิโดน เบนซิลเบนโซเอต และน้ำมันเปเปอร์มินท์ พบว่าการปลดปล่อยยาไซโปรเทอโรนอะซีเตทเป็นแบบยาวนานถึง 15 วัน ด้วยกลไกการแพร่แบบ Fickian จากน้ำมันมะพร้าว ทั้งนี้การผสมเอ็นเมทิลไพร์โรลิโดนทำให้อัตราการปลดปล่อยยาสูงกว่าการใช้น้ำมันมะพร้าวเดี่ยว ด้วยสมบัติความไม่ชอบน้ำทำให้เบนซิลเบนโซเอตและน้ำมัน เปเปอร์มินท์หน่วงการปลดปล่อยยาด้วยกลไกการแพร่แบบ Fickian สรุป: ยาไซโปรเทอโรนอะซีเตทมีการปลดปล่อยยาวนานจากการใช้กระสายยาเป็นน้ำมันมะพร้าวผสมตัวทำละลาย น้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับเอ็นเมทิลไพร์โรลิโดน เบนซิลเบนโซเอต และน้ำมันเปเปอร์มินท์ เพราะเหมาะต่อการประยุกต์เป็นน้ำกระสายยาฉีดสำหรับยาไซโปรเทอโรนอะซีเตท และควรศึกษาด้านความปลอดภัยต่อไปคำสำคัญ: น้ำกระสายยาฉีด, ไซโปรเทอโรนอะซีเตท, การยับยั้งการเกิดไข, น้ำมันมะพร้าว, สารผสมน้ำมันมะพร้าวและตัวทำละลาย Abstract Objective: Cyproterone acetate (CPA) has commercially been formulated as an intramuscular injection. The preparation and evaluations were performed for CPA sustained-release injection using coconut oil (CO) and mixed coconut oil/solvent as vehicle. Method: CPA-loaded injectable CO vehicles were prepared with the addition of different wax inhibitors including hydrophilic substances such as N-methyl pyrrolidone (NMP), and hydrophobic substances including benzyl benzoate (BB) and peppermint oil (PO). Results: CPA did not apparently change the physicochemical properties of CO such as the lowest temperature with the remaining oil viscosity detected (LVD), pour point (PP) and wax appearance temperature (WAT). WAT was reduced to less than 15 °C when wax inhibitors were added, and the incorporation of PP was apparently reduced from 19 °C to 6 °C. LVD value proved that transformation of oil into semisolid matter was also reduced from 10 °C to less than 4 °C because of efficient wax inhibition of NMP, BB and PO.  Sustained CPA release 15 days with Fickian diffusion was achieved with CO, in which NMP addition exhibited a higher CPA release rate than plain CO. Owing to hydrophobicity, BB and PO retarded CPA release with Fickian diffusion. Conclusion: The CPA release prolongation was attained using mixed coconut oil/solvent. CO incorporated with NMP, BB and PO is suitable for application as an injectable vehicle for cyproterone acetate; nevertheless, the safety of these CPA-loaded mixed CO/solvents should be further investigated. Keywords: injectable vehicle, cyproterone acetate, wax inhibition, coconut oil, mixed coconut oil/solvent 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-06-29