ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน Effects of the Resilience Promoting Program on Self-management Behavior and Hemoglobin A1C Level among Older People with Diabetes

Authors

  • Sichon Tongma
  • Waree Kangchai
  • Sahattaya Rattanajarana

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ รวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยใช้แบบสัมภาษณ์การจัดการด้วยตนเอง และตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซีด้วยเครื่องมือ H9 HbA1c Analyzer วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบค่าที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) และค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองในระยะติดตามผลน้อยกว่าระยะก่อนการทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) และพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) สรุป: โปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นมีผลเพิ่มคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและลดค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซี ดังนั้นควรนำโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นไปใช้กับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสม และค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีลดลง คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่น, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ฮีโมโกลบินเอวันซี, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2Abstract Objective: To determine effects of resilience promoting program on self-management behavior and hemoglobin A1C level in the older adults with diabetes. Method: Sample was 30 older people with type 2 diabetes who met the requirements selected by simple random sampling, with 15 each in the test group (resilience promoting program) and control group (usual care). Data were collected at pre-intervention, ost-intervention and follow-up using using self-management interview questionnaire and hemoglobin A1C level was monitored by H9 Hemoglobin A1C Analyzer at pre-intervention and follow-up. Data were analyzed by using descriptive statistics, dependent t-test, independent t-test, and repeated one-way ANOVA with between-group and within-group variance. Results: Self-management behavior average scores of the test group at post-intervention and follow-up were significantly different from those of control group (P-value < 0.01). In the testgroup, scores at post-intervention and follow-up were significantly higher than that at pre-intervention (P-value < 0.01). HbA1C level of the test group at follow-up was significantly lower than that at pre-intervention, and significantly lower than that of control group at follow-up (P-value < 0.01). Significant interaction between intervention and time point was found. Conclusion: Resilience promoting program could improve scores of self-management behavior and HbA1C level. The program should be implemented to enhance proper self-management behavior and HbA1C level. Keywords: resilience promoting program, self-management behavior, hemoglobin A1C, older adults, type 2 diabetes

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-06-29