ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม Selected Factors Related to Comfort of Advanced Cancer Patients
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความสุขสบายและความสัมพันธ์กับตัวแปรคัดสรรในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้มีตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม หรือมะเร็งระยะที่ 3 หรือ 4 ที่ได้เข้ารับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ หอผู้ป่วยสามัญหญิง และหอผู้ป่วยสามัญชาย โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 84 ราย รวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย ความผาสุกทางจิตวิญญาณ การสนับสนุนทางสังคม และอาการซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันหรือค่าความสัมพันธ์สเปียแมนตามความเหมาะสม ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความสุขสบายระดับมาก (M = 225.25, SD = 26.25) โดยความปวดและภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์ทางลบกับความสุขสบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -0.230, P-value < 0.05 และ r = -0.543, P-value < 0.01, ตามลำดับ) แต่ความผาสุกทางจิตวิญญาณและการสนับสนุนทางสังคมสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขสบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.566, P-value < 0.01 และ r = 0.544, P-value < 0.01, ตามลำดับ) สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีความสุขสบายระดับมาก และสัมพันธ์กับความปวด, ภาวะซึมเศร้า, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, และการสนับสนุนทางสังคม จึงควรส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณร่วมกับการจัดการความปวดและภาวะซึมเศร้า คำสำคัญ : ความสุขสบาย; ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม; ปัจจัยคัดสรรAbstract Objective: To determine level of comfort and related factors in advanced cancer patients. Method: A sample of 84 patients diagnosed with advanced cancer or 3rd or 4th stage cancer was selected by simple random sampling. The patients were admitted to two ordinary cancer units of Chonburi Cancer Hospital. Data were collected by personal data record and five questionnaires as follows; Hospice Comfort Questionnaire (Patient), the Spiritual Well-Being Scale, the Social Support Questionnaire, Pain Numeric Ratting Scale, and Hospital Depression Scale. Data were analyzed by descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient or Spearman’s rank correlation, as appropriate. Results: The sample had high comfort (M = 225.25, SD = 26.25). Pain and depression were significantly, negatively correlated with comfort (rs = -0.230, P-value < 0.05 and r = -0.543, P-value < 0.01, respectively). Conversely, spiritual well-being, and social support were significantly, positively correlated with comfort (r = 0.566, P-value < 0.01 and r = 0.544, P-value < 0.01, respectively). Conclusion: Advanced cancer patients had high level of comfort. Their comfort was correlated with pain, depression, spiritual well-being, and social support. Nursing care should promote social support and spiritual well-being and alleviate pain and depression. Keywords: comfort; advanced cancer patient; selected factorsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์