ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารให้สอดคล้องตามวิถีอีสาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 Effects of Pharmaceutical Care with food Education According to Isan Life Style in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารตามวิถีอีสาน (กลุ่มทดลอง) เทียบกับการดูแลตามปกติ (กลุ่มควบคุม) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อค่า HbA1c ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและอาหารตามวิถีอีสาน ความร่วมมือในการรับประทานอาหาร การรับประทานยา และการออกกำลังกาย อัตราการครอบครองยา และเจตคติต่อโรคเบาหวาน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำในคนไข้ที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 88 และ 87 คน ตามลำดับ การทดลองนาน 3 เดือน เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษา: เมื่อสิ้นสุดการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองมีค่า HbA1c ลดลงจากก่อนทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P-value < 0.001 ทั้งคู่) โดยสามารถลดค่า HbA1c ให้น้อยกว่า 7.0% ได้ถึงร้อยละ 40.2 ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบเป็นร้อยละ 0 กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและอาหารตามวิถีอีสาน ความร่วมมือในการรับประทานอาหารและการรับประทานยา อัตราการครอบครองยา และเจตคติ (ยกเว้นการออกกำลังกาย) ที่สิ้นสุดการศึกษาดีกว่าก่อนการศึกษา (P-value < 0.05) ส่วนเมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองมีผลลัพธ์ดังกล่าวดีกว่ากลุ่มควบคุม (P-value < 0.05 สำหรับทั้งหมด) สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้ความรู้ด้านอาหารตามวิถีอีสานทำให้ระดับ HbA1c และผลลัพธ์ทางคลินิกต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ควรส่งเสริมให้มีบริการที่นำวิถีท้องถิ่นเข้ามาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไข้เบาหวานให้กว้างขวางมากขึ้นคำสำคัญ: การบริบาลทางเภสัชกรรม, อาหารอีสาน. เบาหวานชนิดที่ 2 Abstract Objective: To examine effects of pharmaceutical care with food education according to Isan Life style (test group) in patients with type 2 diabetes on HbA1c level compard with the usual care. Other outcomes included knowledge about diabetes and Isan food, compliances to diet, medications, and exercise, medication possession ratio and attitude toward diabetes. Method: In this randomized controlle trial, patients at the type 2 diabetes clinic of Sahatsakhan Hospital, Khalasin province were randomized to test group (n = 88) or control group (n = 87). The intervention took about 3 months. Within-group and between-group comparisons were conducted. Results: At the study end, HbA1c in the test group was lower than baseline and than that of the control group (P-value < 0.001 for both). A 40.2% and 0% of patients in the test and control groups, respectively reached the HbA1c of < 7.0%. When compared with baseline, test group had scores of diabetes, diet compliance, medication compliance, medication possession ratio and attitude (except exercise compliamce) improved significantly at the end of the study (P-value < 0.05). All of such outcomes were significantly better in the test group than the control group (P-value < 0.05 for all). Conclusion: Pharmaceutical care with food education according to Isan Life style improved HcA1c levels and other clinical outcomes significantly. More local lifestyle should be incorporated into lifestyle modification for diabetic patients. Keywords: pharmaceutical care, Isan diet, type 2 diabetes mellitusDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์