ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี Factors Related to Adversity Quotient of Nurses in Chonburi Cancer Hospital
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความสัมพันธ์กับการมองโลกในแง่ดี สัมพันธภาพภายในครอบครัว และความผูกพันในวิชาชีพ ของพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลโรคมะเร็ง วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้มีตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีตามคุณสมบัติที่กำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค (3) การมองโลกในแง่ดี (4) สัมพันธภาพภายในครอบครัว และ (5) ความผูกพันในวิชาชีพ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับสูง (M = 5.12, SD = 0.45) และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสัมพันธ์ทางบวกกับการมองโลกในแง่ดี (r = 0.42) และสัมพันธภาพภายในครอบครัว (r = 0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05 ทั้งคู่) แต่ไม่สัมพันธ์กับความผูกพันในวิชาชีพ สรุป: ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในพยาบาลที่โรงพยาบาลมะเร็งสัมพันธ์ทางบวกกับการมองโลกในแง่ดีและสัมพันธภาพภายในครอบครัว ผู้บริหารและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการมองโลกในแง่ดี และเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัวเพื่อพัฒนาให้พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมะเร็งสามารถเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคต่อไป คำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ, ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค, การมองโลกในแง่ดี, สัมพันธภาพภายในครอบครัว, ความผูกพันในวิชาชีพ, โรงพยาบาลมะเร็งAbstract Objective: To determine adversity quotient and its relationship with selected factors among professional nurses in cancer-specialized hospital. Method: A simple random sampling technique was used to recruit 62 professional nurses who met inclusion criteria. The instruments used for data collection consisted of questionnaires of (1) personal information, (2) adversity quotient (3) optimism, (4) family relationship, and (5) career commitment of professional nurses. Data were collected from November to December, 2019, and were analyzed by descriptive statistics and Pearson's product moment correlation analysis. Results: The participants had a high level of adversity quotient (M = 5.12, SD = 0.45). Adversity quotient was positively correlated with optimism (r = 0.42) and family relationship (r = 0.33) with statistical significance (P-value < 0.05 for both), but not correlated with career commitment. Conclusion: Adversity quotient was positively correlated with optimism (r = 0.42) and family relationship among nurses taking care of cancer patients. Hospital administrators and related personnel should promote optimism and positive family relationships in order to strengthen adversity quotient among professional nurses in cancer hospitals. Keywords: nurse, adversity quotient, optimism, family relationship, career commitment, cancer hospitalDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์