ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการปฏิบัติตามระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำของผู้ป่วยใน, โรงพยาบาลพุทธโสธร Performance of Healthcare Providers in the Prevention of Repeated Drug Allergies among Patients Admitted to the In-patient Department, Buddhasothorn Hospital
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัตงานระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำของผู้ป่วยใน วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางประเมินการสามารถปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนของมาตรฐานระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำผู้ป่วยใน ที่โรงพยาบาลพุทธโสธร โดยใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้นตามแนวทางมาตรฐานดังกล่าว เกณฑ์การคัดเลือก คือ ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2563 ได้รับการสัมภาษณ์ ทบทวนแฟ้มประวัติและเอกสารอื่น ๆ เพื่อประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานระบบป้องกันการแพ้ยาของบุคลากรทางการแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแสดงความถี่และร้อยละของแต่ละขั้นตอนที่ทำได้เหมาะสมและไม่เหมาะสม ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยใน 98 คนที่เข้าร่วมการวิจัย พบว่ามี 45.9% ที่บุคลากรทำครบทุกขั้นตอน พบความบกพร่องในทั้ง 12 ขั้นตอน โดยพบมากที่สุด ได้แก่ ไม่พบรายงานการทบทวนแพ้ยาของแพทย์ (49.0% ของคนไข้ทั้งหมด) ไม่มีใบตรวจสอบแพ้ยาสีชมพูในแฟ้มประวัติผู้ป่วยหรือใส่ผิดตำแหน่ง (39.8%) ไม่ติดป้ายแพ้ยาหน้าเตียง (33.7%) และพยาบาลไม่ได้ตรวจประวัติแพ้ยาและไม่ได้ใส่ชื่อยาที่แพ้ให้ครบ (32.6%) ทั้งนี้ผลการสัมภาษณ์และสังเกตเพิ่มเติมพบว่า สาเหตุหลักคือ บุคลากรมีงานมาก และการเตือนประวัติแพ้ยาทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ถี่เกินไปจนแพทย์ไม่สนใจ สรุป: ขั้นตอนที่ทำไม่เหมาะสม คือ ไม่พบรายงานการทบทวนแพ้ยาของแพทย์ ไม่มีใบตรวจสอบแพ้ยาสีชมพูในแฟ้มประวัติผู้ป่วยหรือใส่ผิดตำแหน่ง และไม่ติดป้ายแพ้ยาหน้าเตียง หรือหน้าแฟ้มประวัติผู้ป่วย โรงพยาบาลควรปรับปรุงระบบการทำงานและการใช้ระบบสารสนเทศช่วยในการสั่งยาและตรวจสอบประวัติการแพ้ยาให้มากขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสการสั่งใช้ยาที่แพ้ได้ คำสำคัญ: แพ้ยาซ้ำ, ระบบป้องกันแพ้ยาซ้ำ, ผู้ป่วยใน, มาตรฐานการปฏิบัติงานAbstract Objective: To assess the performance of healthcare providers in complying with the standard operating procedure (SOP) in preventing repeated drug allergy among patients admitted to the in-patient department. Methods: This cross-sectional study assessed the compliance to each task according to the SOP among patients admitted to the in-patient department, Buddhasothorn Hospital. Patients admitted to the medical ward from August to September 2020 were included. They were interviewed and their medical records all related documents were reviewed to assess for the providers’ compliance to the SOP. For each task, it was assessed whether the provider complied with the SOP and presented as frequency and percentage. Results: Of the 98 patients included, 45.9% of them were with all tasks completed by the providers. All 12 tasks were found incomplete, with the most frequently incomplete ones were no drug allergy history reviewed and verified by physicians (49.0% of all 98 patients), no pink allergy alert note in the medical chart or the note inserted in the wrong order (39.8%), no alert card on the bed head (33.7%), and drug allergy history not reviewed by nurses and incomplete list of allergic drugs (32.6%). Possible causes based on informal interview and observation included heavy workload and physician’s indifference to the too frequent alert warning on the screen. Conclusion: Incomplete tasks in preventing repeated drug allergy included no drug allergy history review by physicians, drug allergy history review note not put on medical chart or put on the wrong order, no alert card on the bed head or on the medical chart. Works based on the SOP and the information system to prevent repeated drug allergy should be further improved to reduce the risk of repeated incidence. Keywords: repeated drug allergy, repeated drug allergy prevention system, in-patients, standard operating procedureDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์