โปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน: การวิจัยนำร่อง A Family-Based Behavioral Counseling Program in School-aged Children with Obesity: A Pilot Study

Authors

  • Kittiya Rattanamanee
  • Chintana Wacharasinharasin
  • Nujjaree Chaimongkol

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนต่อพฤติกรรมการกินอาหารเพื่อสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และดัชนีมวลกาย วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน และหลังการทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนและผู้ปกครอง 5 ราย อายุ10 - 12 ปี ศึกษาในโรงเรียนเทศบาลเขต อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี อาศัยอยู่กับบิดา/มารดา เก็บรวบรวมข้อมูล 4 สัปดาห์ โดยทำกิจกรรมที่บ้านเป็นรายครอบครัวโดยการเยี่ยมบ้าน 3 ครั้ง โทรศัพท์ให้คำปรึกษา 2 ครั้ง ทำกิจกรรมตามโปรแกรมครั้งละ 40 - 50 นาที เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามแบบสอบถามพฤติกรรมการกินสำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิตินอนพาราเมตริก  ผลการศึกษา: พบว่า หลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพและกิจกรรมทางกายมีคะแนนดีกว่าก่อนการทดลอง (P-value < 0.05) แต่ค่า BMI ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งก่อน หลังการทดลองและในระยะติดตามผล สรุป: โปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานมีความเป็นไปได้ที่จะนำทดสอบในการศึกษาหลัก โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น จำนวนครั้งที่ทำการให้คำปรึกษามากขึ้น และระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอ อาจช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการกินและการใช้กิจกรรมทางกายซึ่งส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่ค่าดัชนีมวลกายในเด็กอ้วนจะลดลง คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาด้านพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน, เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน Objective: To examine the feasibility of a family-based behavioral counseling program in school-aged children with obesity relating to healthy eating behavior, physical activity, and body mass index (BMI). Method: In this quasi-experimental stuyd, one group, pre-posttest and follow- up design was used. Five school-aged children with obesity and their parents were purposively selected. They were 10 - 12 years old, studying at a municipal school, Maung district, Surat Thani province, and living with father/mother.  Data were collected for 4 weeks. The program was carried out at home of individual family, with 3 family visits and 2 telephone consultations. Each session lasted 40 - 50 minutes. The instruments used for data collection consisted of the Eating Behaviors Questionnaire for Children 6-13 years and the Physical Activity Questionnaire for Older Children (PAQ-C). Data were analyzed by using descriptive statistics and non-parametric statistics. Results: The scores for healthy eating behavior and physical activities were better than those recorded before the intervention (P-value < 0.05). However, the BMI ​​scores had not changed between pre- and post-intervention or the follow-up. Conclusion: This family-based behavioral counselling program could be further tested in the main study with a larger sample size, more sessions, and longer duration. It could promote both healthy eating behavior and participating in physical activity, thereby resulting in lower body mass index scores for those obese children Keywords: family-based behavioral counseling program; school aged children with obesity

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-03-30