ผลของกระบวนการผลิตและน้ำมันชนิดอื่นหรือน้ำกระสายยาต่อสมบัติเคมีกายภาพของน้ำมันมะพร้าว Effect of Production Process and Addition of Other Oils/Vehicles on Physicochemical Properties of Coconut Oil
Abstract
วัตถุประสงค์: น้ำมันมะพร้าวถูกใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์หลายชนิด ถึงแม้นว่าน้ำมันมะพร้าวจะได้รับความสนใจอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเกิดผลึกไขของน้ำมันนี้นับเป็นปัญหาที่สำคัญ การลดอุณหภูมิในการเกิดไขและจุดไหลของน้ำมันมะพร้าวอาจป้องกันการเกาะกลุ่มของไข งานวิจัยนี้ศึกษาผลของกระบวนการเตรียมน้ำมันมะพร้าวและผลของการเติมน้ำมันชนิดอื่นและน้ำกระสายยาต่อสมบัติเคมีกายภาพของน้ำมันมะพร้าว วิธีการศึกษา: น้ำมันมะพร้าวแบบต่าง ๆ ถูกเตรียมจากการบีบอัดเนื้อมะพร้าว (CO1) และส่วนใสจากการทิ้งให้ตกตะกอน (CO2) และนำส่วนใสที่ผ่านการกรองรอบที่ 1 (CO3) รอบที่ 2 (CO4) และ รอบที่ 3 (CO5) โดยน้ำมันมะพร้าวจากกระบวนการเตรียมดังกล่าวและน้ำมันมะพร้าวชนิด CO5 ที่เติมน้ำมันและน้ำกระสายยาชนิดอื่น ได้นำมาศึกษาสมบัติเคมีกายภาพด้านต่าง ๆ ผลการศึกษา: การทิ้งให้ตกตะกอนและผ่านการกรองช่วยลดอุณหภูมิการเกิดไขของน้ำมันมะพร้าวได้ โดยน้ำมันเปปเปอร์มินต์ เบนซิลเบนโซเอต และเอ็นเมทิลไพร์โรลิโดน ได้นำมาใช้เป็นสารยับยั้งการเกิดไข ซึ่งการเติมสารทั้งสามนี้ช่วยลดอุณหภูมิการเกิดไขของน้ำมันมะพร้าว น้ำมันเปปเปอร์มินต์ และเบนซิลเบนโซเอตลดอุณหภูมิจุดที่เกิดการไหลของ CO5 ได้มากกว่าเอ็นเมทิลไพร์โรลิโดนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลึกไขมีผลต่ออุณหภูมิจุดที่เกิดการไหลและอุณหภูมิการเกิดไขของ CO5 สรุป: น้ำมันเปปเปอร์มินต์ เบนซิลเบนโซเอตมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิจุดที่เกิดการไหลของ CO5 มากกว่าเอ็นเมทิลไพร์โรลิโดน คำสำคัญ: น้ำมันมะพร้าว การผลิต สารเติมแต่ง สมบัติเคมีกายภาพObjective: Coconut oil (CO) has been used as an important component in various cosmetic and pharmaceutical products. CO is the most notably of interest; nevertheless, its wax crystallization is a major problem. The decrement of wax appearance temperature (WAT) and pour point (PP) of CO might prevent the wax agglomeration This research investigated the effect of production process and addition of other oils/vehicles on physicochemical properties of coconut oil. Method: Different COs were prepared. CO1 was prepared by pressing comminuted kernel mass, CO2 was prepared by subjecting CO1 to sedimentation and decanting, while CO3, CO4 and CO5 were prepared by filtering this supernatant once, twice and thrice, respectively. The physicochemical properties of COs were investigated together with CO5 through the addition of additives such as oils and vehicles. Results: Sedimentation followed by filtration lowered the wax appearance temperature (WAT) of COs. Peppermint oil (PO), benzyl benzoate (BB) and N-methyl pyrrolidone (NMP) were chosen as wax inhibitors. Lower WAT values were achieved owing to the addition of PO, BB and NMP. Here PO and BB significantly more decreased the pour point (PP) of CO5 than NMP (p < 0.05). Changes in wax crystal morphology influenced PP and WAT of CO5. Conclusion: PO and BB were more effective in decreasing WAT of CO5 than NMP. Keywords: coconut oil, production, additives, physicochemical propertiesDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-03-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์