Knowledge of Preventive Measures of Microbial Contamination and Quality of Drinking Water in Sealed Containers of Manufacturers in Mueang District, Chaiyaphum Province

Authors

  • Chalee Phumtan
  • Kornkaew Chanthapasa

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ของผู้ผลิต สำรวจคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทของผู้ผลิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับปัจจัยส่วนบุคคล สถานที่ผลิต และคุณภาพน้ำ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เจ้าของกิจการ 28 คน และพนักงาน 40 คน ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทพื้นที่ อ.เมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 32 แห่ง และเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม144 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านเชื้อจุลินทรีย์ด้วยชุดตรวจภาคสนาม อ.11 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การตัดสินว่ามีความรู้ใช้เกณฑ์ผ่านที่ร้อยละ 60 และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ (ผ่าน/ไม่ผ่าน) กับปัจจัยส่วนบุคคล ประเภทและขนาดของสถานที่ผลิต และระหว่างความรู้กับคุณภาพน้ำด้านเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้สถิติ Fisher's exact test ผลการศึกษา: ผู้ผลิตน้ำบริโภคน้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 45.59%) มีความรู้มากกว่าเกณฑ์ผ่าน  โดยเฉพาะในส่วนขั้นตอนการล้างภาชนะบรรจุและฝาภาชนะบรรจุ พบว่ามีตัวอย่างน้ำดื่มที่มีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนจำนวนมากถึง 63 ตัวอย่าง (ร้อยละ 43.75) โดยพบมากภาชนะบรรจุชนิดใช้ซ้ำ พบว่าความรู้ในขั้นตอนการล้างภาชนะบรรจุสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำด้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-vaue = 0.040) สรุป: น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ผลิตใน อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ผ่านเกณฑ์ น้ำดื่มในภาชนะปิดสนิทจำนวนมากไม่ได้มาตรฐาน ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการล้างภาชนะบรรจุและฝาภาชนะบรรจุสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำด้านเชื้อจุลินทรีย์ การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ผลิตเกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำดื่ม การบำรุงรักษา จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์, ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์, คุณภาพน้ำดื่ม, ผู้ผลิตObjectives: To assess knowledge of drinking water manufacturers on preventive measures for microbial contamination of drinking water in sealed containers, examine the quality of drinking water, and examine relationships between the knowledge and personal factors, production site and water quality. Methods: In this survey study, data were collected through interviews with 28 business owners and 40 employees in 32 production facilities of drinking water in sealed containers in Mueang district, Chaiyaphum province. A total of 144 samples of drinking water were collected for assessment of microbialquality with field test kit DOH.11. Descriptive statistics were used to summarize the findings. A cut-off of 60% of correct answers was used for pasiing the knowledge test. Fisher’s exact test was used to test relationships between the knowledge (passed/failed) and personal factors, types and sizes of production sites, and microbial water quality. Results: Slightly less than half of the participants (owners and employees) passed the knowledge test (45.59%), especially on the process of washing containers and lids. Almost half of the drinking water samples (63 out of 144, or 43.75%) were microbially contaminated, especially those reusable containers. Knowledge of container cleaning procedure was significantly related to the quality of drinking water (P-vaue = 0.040). Conclusion: Less than half of manufacturers in Mueang district, Chaiyaphum province passed the knowledge of preventive measures for microbial contamination in drinking water in consealed containers. A large number of drinking water failed the microbial test. Knowledge of cleaning containers and lids was related to microbial quality of the drinking water. Manufacturers should be continuously provided with training for manufacturing and maintenance. Keywords: drinking water in sealed containers, microbial contamination, knowledge of preventive measures of microbial contamination, quality of drinking water, manufacturers

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-03-30