ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มพ์และความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง The Association between the Use of Proton Pump Inhibitors and the Risk of Pneumonia: A Case-Control Study

Authors

  • Thapanee Jaipinta
  • Nantida Yarangsee
  • Nannapat Jiangpet
  • Preedaporn Phothipo
  • Thanaporn Pornwanapongsa

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มพ์ (PPIs) กับการเกิดโรคปอดอักเสบในคนไข้ชาวไทย วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (case-control study) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่สุ่มจากผู้ป่วยถูกวินิจฉัยตามรหัสโรคปอดอักเสบของ the International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems 10th Revision (ICD-10) และกลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยรับบริการในวันและโรงพยาบาลเดียวกับกลุ่มศึกษา (อัตราส่วน 1:1) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลพะเยาและโรงพยาบาลเชียงคำ จ.พะเยา ระหว่างมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test และความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปรโดยใช้พหุถดถอยลอจิสติกส์ โดยควบคุมตัวแปรเพศ อายุ กลุ่มโรคและกลุ่มยาของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 1,770 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ 885 คน และกลุ่มควบคุม 885 คน ค่า adjusted odds ratio (ORAdj) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างยากลุ่ม PPIs และโรคปอดอักเสบเท่ากับ 1.47 (95% confidence interval [CI] = 1.08-2.01) โดยยา PPIs ในรูปแบบรับประทาน,(crude odds ratio (ORcrude) = 1.64, 95%CI = 1.29 – 2.09), รูปแบบผสมระหว่างรับประทานและฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (ORcrude = 1.98, 95%CI = 1.08 – 3.63), การได้รับขนาด PPIs สะสมน้อยกว่า 50 defined daily dose (ORcrude = 1.87, 95% CI = 1.38 – 2.52) และ 50-100 defined daily dose (ORcrude = 1.99, 95% CI = 1.18 – 3.37) และระยะเวลาการใช้ยาน้อยกว่า 30 วัน (ORcrude = 2.87, 95%CI = 1.59 – 5.18) 30-90 วัน, (ORcrude = 1.68, 95% CI = 1.08 – 2.60) และ มากกว่า 90 วัน (ORcrude = 1.46, 95% CI = 1.12 – 1.91) สัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคปอดอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การใช้ยากลุ่ม PPIs สัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดอักเสบ จึงควรตระหนักและวางแนวทางการใช้ยากลุ่ม PPIs ให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย คำสำคัญ: ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มพ์, โรคปอดอักเสบ, การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังObjective: To examine the association between the use of proton pump inhibitors (PPIs) and the risk of pneumonia in Thai patients. Method: We conducted a case-control study using medical records from Chiangkhum Hospital and Phayao Hospital between January 2012 and December 2015. We randomly selected cases who had a diagnostic code for any types of pneumonia according to the International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems 10th Revision (ICD-10) during the study period. Controls were identified through their date of hospital admission or hospital visit that matched with the diagnosis date of the cases (1:1).  Fisher’s exact test for univariate analyses and multiple logistic regression for multivariable analyses adjusted for gender, age, comorbid disease groups and co-medication groups were performed. Results: A total of 1,770 patients (855 cases and 855 controls) were identified. PPIs significantly increased the risk of pneumonia with an adjusted odds ratio (ORAdj) of 1.47 (95% confidence interval [CI] = 1.08 - 2.01). Furthermore, oral PPIs, oral combined with parenteral PPIs, cumulative PPIs dose of < 50 defined daily dose (DDD) and of 50-100 DDD, and the use of PPIs of < 30 days, 30 – 90 days, and more than 90 days were independently associated with the increased risk of pneumonia with crude ORs of 1.64 (95% CI 1.29 – 2.09), 1.98 (95% CI 1.08 – 3.63), 1.87 (95% CI 1.38 - 2.52), 1.99 (95% CI 1.18 - 3.37), 2.87 (95% CI, 1.59 – 5.18), 1.68 (95% CI, 1.08 – 2.60), and 1.46 (95% CI, 1.12 – 1.91), respectively. Conclusion: The use of PPIs could be associated with an increased risk of pneumonia. Awareness among healthcare providers when prescribing PPIs should be raised. Keywords: proton pump inhibitors, pneumonia, case-control study

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-03-30