ความชุกของการถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพอาวุโส Prevalence of Workplace Bullying Among Senior Registered Nurses
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพอาวุโสในประเทศไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับการถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพอาวุโส วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพชีพที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 288 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลและแบบวัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (Negative Acts Questionnaire-Revised (NAQ-R) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.54 (n = 39) ถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานในรอบหกเดือนที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ถูกกลั่นแกล้งเป็นครั้งคราว ร้อยละ12.50 (n = 36) และถูกกลั่นแกล้งทุกวันร้อยละ 1.04 (n = 3) ชนิดของการถูกกลั่นแกล้งพบว่า การกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลมากที่สุด (58.33%) รองลงมาคือการกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับงาน (50.75%) และการข่มขู่ทางกาย (32.64%) ตามลำดับ ผู้ที่กลั่นแกล้งมากที่สุดคือหัวหน้างาน หรือผู้บริหารอื่นในองค์กร (51.28%, n = 20) การรับรู้การถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรส และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: พยาบาลร้อยละ 13.54 ถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงาน การกลั่นแกล้งในพยาบาลเป็นปัญหาที่ควรคำนึงถึงและได้รับการป้องกันและแก้ไข และควรสนับสนุนให้พยาบาลมีการรายงานอุบัติการณ์การถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงาน คำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพอาวุโส, การถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานObjective: To explore the prevalence of work place bullying among senior registered nurses (RNs) in Thailand and to examine association between bullying and senior RNs’ demographic factors and work related factors. Method: This cross-sectional study recruited 288 nurses working in fourth tertiary hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, Thailand. A multi-stage sampling technique was used to recruit all participants from March to June 2019. Data were collected using self-administered questionnaire which comprised of socio-demographic factors and the Thai version of Negative Acts Questionnaire-Revised (NAQ-R) to measure workplace bullying. Descriptive statistics and Chi-squared test were carried out to analyze data. Results: Among the 288 respondents, 13.54% were victims of bullying in the past six months, 12.5% (n = 36) were bullied occasionally, while 1.04% (n = 3) were bullied every day.Most of them exposed to person-related bullying (58.33%), followed by work-related bullying (50.75%) , and physical intimidation (32.64%). The most perceived perpetrators for bullying were their supervisors/ managers in the organization (51.28 %, n = 20). Perceived workplace bullying was associated with marital status and education level. Conclusion: 13.54% of nurses were bullied. Bullying among nurses is a problem that needs to be addressed with care and concern. Nurses should be encouraged to report the incidence of workplace bullying. Keywords: senior registered nurses, workplace bullyingDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-03-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์