ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาโดยย่า/ยายต่อความรู้ของย่า/ยาย และพัฒนาการทางภาษาในเด็กวัยหัดเดิน Effects of Grandmother Language Intervention on Grandmothers’ Knowledge and Language Development of Toddlers
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาโดยย่า/ยายต่อความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของย่า/ยาย และพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยหัดเดิน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นคู่ย่า/ยายและหลานอายุ 12 - 18 เดือน ที่เด็กมาใช้บริการ ณ คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล ใน 4 อำเภอของ จ.พะเยา จำนวนรวม 34 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คู่ และกลุ่มควบคุม 17 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาโดยย่า/ยาย ดำเนินการรายบุคคล ณ บ้านของตัวอย่าง ดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะประเมินและให้ความรู้ 2) ระยะพัฒนาทักษะและการกำหนดเป้าหมาย 3) ระยะติดตามและประเมินผล ดำเนินการทั้งหมด 4 ครั้ง ๆ 30 - 90 นาที ห่างกัน 2 วัน ถึง 2 สัปดาห์ วัดความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของย่า/ยายและพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยหัดเดินจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อน (สัปดาห์ที่ 0) และหลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 5) และระยะติดตาม (สัปดาห์ที่ 9) รวบรวมข้อมูลช่วงเดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์ สถิติฟิชเชอร์ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการศึกษา: หลังสิ้นสุดโปรแกรม ย่า/ยายกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P–value < 0.05) โดยในกลุ่มทดลองพบคะแนนความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของย่า/ยายในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P–value < 0.05) แต่ไม่พบการเพิ่มในกลุ่มควบคุม ส่วนในเด็กนั้น พบว่าคะแนนพัฒนาการทางภาษาของเด็กหลังการทดลองและระยะติดตามระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่าง (P–value > 0.05) สรุปผล: โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาโดยย่ายายสามารถเพิ่มความรู้ของย่า/ยายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา ซึ่งอาจมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาในระยะยาวในเด็กวัยหัดเดินคำสำคัญ: ย่า/ยาย, โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา, ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางภษา, พัฒนาการทางภาษา, เด็กวัยหัดเดินObjective: To determine the effectiveness of the Grandmother Language Intervention (GLI) by comparing the scores of grandmothers’ knowledge of grandpchildren language development and grandchildren’s language development. Methods: In this randomized control trial, participants were 34 grandmother-grandchild dyads visiting well-child clinics of sub-district health promoting hospitals in 4 districts of Phayao province. There were 17 grandmother-grandchild dyads per group. The GLI was implemented in the experimental group at participant’s home in 3 sessions, with 30 - 90 minutes per session, and 2 days to 2 weeks apart. The outcome variables, grandmothers’ knowledge of language development and grandchildren’s language development, were measured 3 times at baseline (week 0), post-intervention (week 5), and follow-up (week 9). Data collection was conducted from April to August 2019. Descriptive statistics, chi-square test, Fisher’s exact, repeated measures ANOVA, and repeated measures ANCOVA were employed to analyze the data. Results: After completing the intervention, grandparents in the experimental group had statistically higher score than those in the control group (P–value < 0.05). The mean scores of grandmothers’ knowledge at post-intervention and follow-up were significantly higher than those at baseline (P-value < 0.05); while shuch increase was not found in the control group. In the grandchildren, their language development scores at post-intervention and follow-up between the two groups were not different (P-value > 0.05). Conclusion: The GLI improved grandmothers’ knowledge of grandpchildren language development which could be ebenficial in improving the child’s language development in the long run. Keywords: grandmother, language intervention, knowledge of language development, language development, toddlersDownloads
Downloads
Published
2021-03-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์