ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย Factors Predicting Motorcycle Accident Prevention Behaviors of High School Students
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงทำนายนี้มีตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา อ.เมือง จ.พิษณุโลก จำนวน 241 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ความรุนแรงของอุบัติเหตุ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุ และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันอุบัติเหตุ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ จำนวนปีที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ การสวมหมวกกันน็อค ประสบการณ์อุบัติเหตุ และความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 78) ตามด้วยระดับมาก (ร้อยละ 10.8) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุได้สูงที่สุด ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันอุบัติเหตุ (b = 0.443) รองลงมาได้แก่การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ (b = 0.313) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (b = 0.224) และอายุ (b = -0.106) ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุได้ร้อยละ 39.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 78) และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันอุบัติเหตุ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และอายุสามารถทำนายพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ คำสำคัญ: ปัจจัยทำนาย, การป้องกันอุบัติเหตุ, รถจักรยานยนต์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา Objective: To determine motorcycle accident prevention behavior and its predicting factors in high school students. Methods: In this cross-secional predictive study, the sample was 241 high school students of Buddhachinarajpittaya School, Muang district, Phitsanulok province. The data were collected by using questionnaires assessing accident prevention behaviors, perceived risk or susceptibility of road traffic accident, perceived severity of road traffic accident, perceived benefits of road traffic accident prevention, perceived barriers or obstacles of road traffic accident prevention, having a driving license for motorcycle, experience in motorcycle riding in years, helmet wearing, having motorcycle accident, and knowledge about laws and regulations regarding road traffic. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. Results: The motorcycle accident prevention behavior was mostly at a moderate level (78% of students) followed by high level (10.8%). The perceived barrier of accident prevention was the strongest predictor of accident prevention behaviors (b = 0.443), followed by having a motorcycle driving license (b = 0.313), perceived susceptibility of accident (b = 0.224) and age (b = -0.106). These four variables could explain 39.8%of the variance of the accident prevention behaviors with a statistical significance at 0.05 level. Conclusion: The motorcycle accident prevention behavior among high school students was at a moderate level. Perceived barrier of accident prevention, having a motorcycle driving license, perceived susceptibility of accident and age significantly predicted the behavior. Keywords: predictive factors, accident prevention, motorcycle, high school studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-03-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์