ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศเนปาล Predictors of Depressive Symptoms among Patients with Heart Failure in Nepal
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอายุ ความคิดทางลบ กลวิธีในการเผชิญปัญหา และการสนับสนุนทางสังคม ต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศเนปาล วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทำนายนี้ดำเนินการที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล กลุ่มตัวอย่างเป็นคนไข้ 124 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวมาอย่างน้อย 6 เดือน และมีระดับความสามารถในการทำกิจกรรม NYHA ระดับ 1 และ 2 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 58.9 อายุเฉลี่ย 52.8 ปี (SD = 13.5, range = 22 - 86) พบว่ามีอาการซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 34.7 ปัจจัยที่ศึกษาร่วมกันทำนายอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญ (F4,119 = 21.84, P-value < 0.01, R2 = 0.423) และอธิบายความผันแปรของอาการซึมเศร้าได้ถึงร้อยละ 42.3 โดยอายุ (b = 0.14, P-value < 0.05) ความคิดทางลบ (b = 0.56, P-value < 0.01) และกลวิธีในการเผชิญปัญหา (b = 0.18, P-value < 0.01) ทำนายอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การพบปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวช่วยสร้างความตระหนักแก่บุคคลากรทางสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย และนำไปสู่การพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมที่มีความเหมาะสมกับอายุ รูปแบบความคิด และกลวิธีในการเผชิญปัญหา เพื่อป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าและส่งเสริมการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี คำสำคัญ : อาการซึมเศร้า, ความคิดทางลบ, กลวิธีในการเผชิญปัญหา, การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะหัวใจล้มเหลว, เนปาลObjective: To examine the predictive power of age, negative thinking, coping strategies and social support on depressive symptoms among Nepalese patients with heart failure. Method: This predictive correlational study was conducted at the teaching hospital in Kathmandu, Nepal. A convenience sample of 124 participants diagnosed with heart failure for at least 6 months with symptom severity classified as NYHA I and II. Self-administered questionnaire was used for data collection. Descriptive statistics and multiple regression were used for data analysis. Results: More than half of participants were female (58.9%). The mean age was 52.8 (SD = 13.5, range = 22 - 86). The rate of depressive symptoms in heart failure patients was 34.7%. All studied factors jointly predicted depressive symptoms (F4,119 = 21.84, P-value < 0.01, R2 = 0.423) and accounted for 42.3% of the variance on depressive symptoms. Age (b = 0.14, P-value < 0.05), negative thinking (b = 0.56, P-value < 0.01) and coping strategies (b = 0.18, P-value < 0.01) were found to be statistically significant predictors of depressive symptoms. Conclusion: The study found predictive factors of depressive symptoms in Nepalese patients with heart failure which raises awareness of health care providers. Interventions tailored to such factors should be developed to prevent depression and promote psychological well-being of the patients. Keywords: depressive symptoms, negative thinking, coping strategies, social support, heart failure, NepalDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-03-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์