ฤทธิ์ชะลอวัยของสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วง Anti-aging Activity of Mauve Clitoria Ternatea L. Petal Extract

Authors

  • Chanakan Cheewabanthoeng Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University
  • Chayanid Sornchaithawatwong Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University
  • Sarin Tadtong Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์ชะลอวัยของสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วง โดยทดสอบการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส เอนไซม์คอลลาจีเนส และเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส และวิเคราะห์หาปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่มแอนโทไซยานินในสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วง วิธีการศึกษา: เตรียมสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วงโดยการสกัดผงกลีบดอกอัญชันสีม่วงด้วย 80% เอทานอล  และระเหยเอทานอลออกด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุน ทดสอบฤทธิ์ชะลอวัย โดยรายงานผลเป็นค่าความเข้มข้นของสารที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ร้อยละ 50 (IC50) ซึ่งทดสอบการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตสและเอนไซม์คอลลาจีเนสด้วยวิธี spectrophotometry โดยใช้กรดแกลลิกเป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก ทดสอบการยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสด้วยวิธี colorimetry โดยใช้เควอเซทินเป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก วิเคราะห์หาปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่มแอนโทไซยานินด้วยวิธี Folin-Ciocalteu method, aluminium chloride complexation colorimetric method และ pH differential method ตามลำดับ ผลการศึกษา: สารสกัดกลีบดอกอัญชันสีม่วงมีค่า IC50 ในการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส เอนไซม์คอลลาจีเนส และเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสเท่ากับ 2.95, 3.37 และ 12.67 mg/ml ตามลำดับ และมีปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิก 27.84 mg GAE, สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ 3.47 mg QE, และสารกลุ่มแอนโทไซยานิน 0.02 mg CE ในสารสกัดกลีบดอกอัญชัน 1 กรัม สรุป: สารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วงมีฤทธิ์ชะลอวัย โดยการยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส เอนไซม์คอลลาจีเนส และเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส และพบสารกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่มแอนโทไซยานินในสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วง ซึ่งฤทธิ์ชะลอวัยของสารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วงน่าจะเป็นผลจากสารกลุ่มฟีนอลิกเนื่องจากพบปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกในสารสกัดมากที่สุด คำสำคัญ: ฤทธิ์ชะลอวัย, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส, สารสกัดจากกลีบดอกอัญชันสีม่วง   Objective: To investigate anti-aging activity of mauve Clitoria ternatea L. (commonly known as butterfly pea) petal extract including anti-elastase, anti-collagenase, and anti-hyaluronidase, and to determine the contents of total phenolic, total flavonoid, and total anthocyanin. Methods: The extract was prepared by soaking powdered mauve C. ternatea L. petal in 80% ethanol, then filtered and concentrated by a rotary evaporator. Anti-elastase and anti-collagenase activities were determined by spectrophotometry with gallic acid as a positive control. Anti-hyaluronidase was determined by colorimetry with quercetin as a positive control and anti-aging activity was reported as the half maximal inhibitory concentration (IC50). The total phenolic content, total flavonoid content, and total anthocyanin content were determined by Folin-ciocalteu method, aluminium chloride complexation colorimetric method, and pH differential method, respectively. Results: Anti-elastase, anti-collagenase, and anti-hyaluronidase activities of mauve C. ternatea L. petal extract were exhibited with IC50 values of 2.95, 3.37, and 12.67 mg/ml, respectively. The total phenolic, total flavonoid, and total anthocyanin were 27.84 mg GAE/g, 3.47 mg QE/g, and 0.02 mg CE/g of the extract, respectively. Conclusion: Mauve C. ternatea L. petal extract possessed anti-aging activity by inhibiting activities of elastase, collagenase, and hyaluronidase. It contained phenolic compounds, flavonoids, and anthocyanins. The anti-aging activity of mauve C. ternatea L. petal extract might be the effect of phenolic compounds since it was found the highest amount in the extract. Keywords: anti-aging activity, anti-elastase activity, anti-collagenase activity, anti-hyaluronidase activity, mauve Clitoria ternatea L. petal extract  

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Chanakan Cheewabanthoeng, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Master student

Chayanid Sornchaithawatwong, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Department of Pharmaceutical Chemistry

Sarin Tadtong, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Department of Pharmacognosy

Downloads

Published

2024-03-19