การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของพยาบาล: การศึกษาแบบตัดขวาง ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัดนครนายก Preparing for Ageing among Nurses: A Cross-sectional Study in a University Hospital in Nakhon Nayok Province

Authors

  • Duangduan Rattanamongkolgul
  • Chuthamas Koomvong
  • Suthee Rattanamongkolgul

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของพยาบาลตามหลัก 3 เสาแนวคิดพฤฒพลัง วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบตัดขวางในพยาบาลที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครนายก เมื่อปีพ.ศ. 2560  โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยตัวแปร เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา หน่วยงาน ประสบการณ์ทำงาน ที่อยู่อาศัย โรคประจำตัว และรายได้ รวมถึงการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุตามกรอบแนวคิดพฤฒพลัง ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วมและด้านหลักประกัน ผลการศึกษา: แบบสอบถามได้รับการตอบกลับจำนวน 303 ฉบับจาก 342 ฉบับ อายุเฉลี่ย 29.9 ปี (SD = 6.3) เป็นเพศหญิงร้อยละ 97.7 พบว่า การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุด้านสุขภาพและด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และด้านหลักประกันอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมตัวเสาหลักด้านสุขภาพและด้านการมีส่วนร่วมมีลักษณะคล้ายกันคือ กลุ่มอายุ 31 - 59 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาโท แผนกห้องตรวจโรค ห้องคลอด และหน่วยไตเทียม หน่วยสวนหัวใจ ประสบการณ์การทำงาน 10 ปีขึ้นไป และที่อยู่อาศัยมีบ้านตนเอง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมตัวด้านหลักประกันคือการมีรายได้เสริม สรุป: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมด้านหลักประกันให้กับพยาบาล เช่น การวางแผนด้านการเงิน การสร้างรายได้ รวมถึงการตระหนักถึงการสมดุลงานกับการเตรียมชีวิตสู่วัยสูงอายุในอนาคต คำสำคัญ: เตรียมสูงอายุ,  พยาบาล, พฤฒพลังAbstract Objective: To examine the level of ageing preparation of nurses working in a university hospital according to the three pillars of the Active Ageing Framework and explore factors related to their preparation. Methods: With the cross-sectional study design, the sample consisted of nurses working in a university hospital in Nakhon Nayok province in 2017. Data were collected through questionnaires that included such variables as gender, age, marital status, education level, working units, length of work experience, housing, underlying diseases and income as well as the ageing preparation according to the Active Ageing Framework’s three pillars, namely health, participation and security. Results: A total of 303 out of 342 questionnaires were returned. Participants average age was 29.9 years (SD = 6.3) and 97.7% of them were female. The ageing preparation of the health and participation pillars were at a high level, while that of the security pillar was at a medium level. The preparation of the health and participation pillars was more likely found in those aged between 31 and 59 years old and those who were married, obtained a Master’s degree, worked at the outpatient unit, the labor room, the kidney dialysis unit and cardiac care unit, had gained over 10 years’ experience and lived in their own homes. The factor that affected the preparation of security was supplemental income. Conclusion: There is a need for preparation of the security pillar in financial planning, income improvement, awareness of work-life balance and ageing preparation. Keywords: ageing preparation, nurses, active ageing

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-01-02