Effects of Food and Nutrition Literacy Program on Food Consumption Behaviors among Junior High School Students at Wang Sai Phun District, Phichit Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (two-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของเมซิโรว์oko 12 สัปดาห์ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารซึ่งมีความเชื่อมั่นระดับยอมรับได้ (Conbrach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.75) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ paired t-test และ independent t-test ผลการศึกษา: พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนทดลอง (P-value = 0.044) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P-value < 0.001) สรุป: โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น จึงสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไปคำสำคัญ: โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นAbstract Objective: To examine effects of the food and nutrition literacy program on food consumption behaviors in junior high school students. Methods: In this quasi-experimental study, junior high school students (grade 1 – 3) of Wang Sai Phun District, Phichit Province were recruited with 30 students each in the experimental and control groups. Students were selected by two-stage sampling. Instruments included 1) 12-week food and nutrition literacy program based on the transformative learning theory of Mezirow and 2) questionnaire on food and nutrition consumption behavior. The questionnaire had an acceptable reliability (Cronbach’s alpha coefficient of 0.75). Data analysis used descriptive statistics (mean with standard deviation and frequency with percentage) and inferential statistics (paired t-test and independent t-test). Results: Score of food consumption behavior of the experimental group at post-program was significantly higher than that at pre-program (P-value = 0.044) and that of the control group at post-progrsm (P-value < 0.001). Conclusion: The food and nutrition literacy program improved food consumption behaviors in junior high school students. The program should be applied in other groups of students. Keywords: food and nutrition literacy program, food consumption behaviors, transformative learning theory, junior high school studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-01-02
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์