การประเมินความเสี่ยงและผลของการให้ความรู้ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในหญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม The Risk Assessment and Effects of Education for Cardiovascular Disease in Women Using Combined Oral Contraceptive Pills
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้ในหญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาในหญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มารับบริการในร้านยาเขตจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 3 ร้าน ระหว่างมีนาคม ถึงเมษายน พ.ศ. 2562 การศึกษาส่วนแรกเป็นการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้เเบบประเมินที่จัดทำขึ้นอ้างอิงตามคำแนะนำของ U.S. Medical Eligibility criteria 2016 ร่วมกับติดตามผลการปรับพฤติกรรมเสี่ยง และผลการส่งต่อในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ ส่วนที่สองคือประเมินผลการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และอาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม โดยใช้แบบทดสอบที่จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ระหว่างก่อนและหลังการให้ความรู้ที่ 2 สัปดาห์ ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 คน มีอายุเฉลี่ย 26.84 ปี มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 70.0) ยาคุมกำเนิดที่ใช้ส่วนมากคือ cyproterone acetate 2 mg ร่วมกับ ethinyl estradiol 35 µg (ร้อยละ 42.0) เเละมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อคุมกำเนิด (ร้อยละ 54.0) หลังจากประเมินพบผู้ที่มีข้อห้ามใช้คือปวดศีรษะไมเกรนชนิดที่มีอาการนำ 1 คน (ร้อยละ 2.0 จึงส่งต่อไปยังสถานพยาบาล และพบผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือมีความดันโลหิตสูง 1 คน (ร้อยละ 2.0) และได้รับคำเเนะนำให้ปรับพฤติกรรม ผลของการให้ความรู้พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) สรุป: เภสัชกรมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาคุมกำเนิดโดยการให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการส่งต่อ การให้ความรู้ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้และอาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพิ่มขึ้น คำสำคัญ: ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, การให้ความรู้Abstract Objective: To evaluate cardiovascular (CVD) risk and compare score of knowledge about the use of combined hormone oral contraceptive pills (OCPs) before and after the education session. Methods: In this quasi-experimental study, women used combined oral OCPs were recruited at 3 drug stores in Mahasarakham province during March to April 2019. The study first part was cardiovascular risk assessment according to the U.S. Medical Eligibility criteria 2016 followed by monitoring of risk behavior modification and referral for participant who had contraindication. The second part was knowledge assessment on the use and adverse effects of combined hormone OCPs before and 2 weeks after the education session. Results: Of the total of 50 participants, their average age was 26.84 years. The majority were single (70.0%), and used the regimen of cyproterone acetate 2 mg and ethinyl estradiol 35 µg (42.0%). The objective of use was birth control (54.0%). After assessment, a person who had contraindications (migraine with aura) (2.0%) was referred to the hospital and the other one with CVD risk (high blood pressure) (2.0%) was advised for behavioral modification. Mean knowledge score increased significantly 2 weeks after the education session (P-value < 0.001). Conclusion: Pharmacist could increase the safety of combined hormone OCPs via counseling for behavioral modification and referral. Education could improve knowledge about OCP use and safety. Keywords: combined hormone oral contraceptive pill, risk assessment of cardiovascular disease, educationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-01-02
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์