ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ Factors Related to Health Behaviors of the Elderly with Recurrent Stroke

Authors

  • Chaiyuth Kotalux
  • Pornchai Jullamate
  • Naiyana Piphatvanitcha
  • Saifone Moungkum
  • Jinjutha Chaisena Dallas

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ และศึกษาปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าว วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำและมารับการตรวจที่คลินิกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 88 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึง15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยใช้สัมภาษณ์ได้แก่ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สิ่งชักนำ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำมีพฤติกรรมสุขภาพระดับสูง (M = 60.19 ± 6.981 คะแนน) และปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และการรับรู้สิ่งชักนำให้สู่การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r = 0.306, P-value = 0.002 ทั้งสองคู่ความสัมพันธ์) ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ (r = 0.220, P-value = 0.020) การรับรู้ความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองการกลับเป็นซ้ำ (r = 0.224, P-value = 0.018) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = 0.204, P-value = 0.028) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ (r = -0.273, P-value = 0.005) สรุป: ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับสูง และสัมพันธ์กับปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ อาจพัฒนารูปแบบส่งเสริมพฤตกรรมสุขภาพโดยส่งเสริมผ่านปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำAbstract Objective: To determine level of health behavior practice in the elderly with recurrent stroke and associating factors. Method: Factors based on Health Belief Model were used in this study. Sample was 88 patients aged 60 years or older with recurrentstroke and reciving care at Prasat Neurological Institute, Bangkok, Thailand, from February 21, to June 15, 2019, selected by simple random sampling. The interview was done using following questionnaires: health behavior of elderly with recurrent stroke, perceived risk, and perceived severity of recurrent stroke, and perceived benefits, perceived barriers, perceived cues to action, and perceived self-efficacy of health behavior. Correlation between the health behavior and each of the factors was tested using Pearson’s product moment correlation coefficient Results: Patients had a highlevel of health behavior (M = 60.19 ± 6.981 points). Health behavior was positively correlated with perceived benefits and perceived cues to action at a medium level (r = 0.306, P-value = 0.002 for both). The behavior was positively correlated with perceived risk (r = 0.220, P-value = 0.020), perceived severity (r = 0.224, P-value = 0.018) and perceived self-efficacy (r = 0.204, P-value = 0.028) at a low level. The behavior was negatively correlated with perceived barriers at a low level (r = -0.273, P-value = 0.005). Conclusion: Health behavior among the elderly with recurrent stroke was at high level and significantly associated with factors based on the Health Belief Model. Intervens to promote health behavior based on Health Belief Model could be developed. Keywords: health behavior, Health Belief Model, elderly, recurrent stroke

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-01-02