ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติด ในเยาวชนไทยที่ใช้สารเอมเฟตามีน Effectiveness of a Motivational Enhancement Group Therapy Program on Drug Abstinence Intention Among Thai Amphetamine-Abusing Youths
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดในเยาวชนไทยที่ใช้สารเอมเฟตามีน วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองนี้คัดเลือกเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง จากสถานบำบัดผู้ติดสารเสพติดแห่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 48 คน แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งสองกลุ่มได้รับจิตสังคมบำบัดจากสถานบำบัด ส่วนกลุ่มทดลองได้รับกลุ่มบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจจำนวน 6 ครั้งนาน 6 สัปดาห์ ประเมินความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีคะแนนความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดเพิ่มขึ้นในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างของคะแนนทั้งระยะหลังการทดลองและติดตามผล สรุป: กลุ่มบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจทำให้คะแนนความตั้งใจในการเลิกสารเพิ่มขึ้น พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมบำบัดเพื่อเพิ่มความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดในเยาวชนที่ใช้สารเสพติด คำสำคัญ: กลุ่มบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ, ความตั้งใจในการเลิกสารเสพติด, เยาวชนไทย, สารแอมเฟตามีน Abstract Objective: To examine the effect of Motivational Enhancement Group Therapy (MET) on drug abstinence intention among Thai amphetamine- abusing youths. Method: This quasi-experimental study recruited 48 youths who met inclusion criteria from a rehabilitation center and randomly assigned them into experimental and control groups of equal size. Both groups attended the conventional psychosocial rehabilitation program. The experimental group also received the MET program weekly for six weeks, for a total of 6 sessions. Drug abstinence intention was assessed before and after treatment, and four weeks after the treatment ended. Descriptive statistics and two-way repeated measurement ANOVA were used for data analysis. Results: Drug abstinence intention scores for the experimental group significantly improved from pre-test to post-test and remained significantly improved at the four-week follow up (P-value < 0.001). Such improvement was not seen in the control group. Conclusion: MET could improve drug abstinence intention scores. Nurses and other drug treatment health care professionals could apply the program to raise drug abstinence intention among substance-abusing youth. Keywords: Motivational Enhancement Group Therapy, drug abstinence intention, Thai youth, amphetamineDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-08-28
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์