อุบัติการณ์และลักษณะทางคลินิกของอาการไม่พึงประสงค์จากยากันชัก ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประเทศไทย Incidence and Clinical Features of Anti-epileptic Drug Related Adverse Drug Reactions in Chiangrai Prachanukroh Hospital, Thailand
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะทางคลินิกของอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reactions; ADRs) ในผู้ป่วยนอกที่ได้รับยากันชักเป็นครั้งแรก วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยนอกที่ได้รับยากันชักครั้งแรกจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยและลักษณะ ADRs โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มที่พบและไม่พบ ADRs จากยากันชัก โดย Chi-square test หรือ Fisher’s exact test สำหรับตัวแปรไม่ต่อเนื่อง และ student t-test หรือ Mann-Whitney U test สำหรับตัวแปรต่อเนื่อง ตามความเหมาะสม ที่ระดับนัยสำคัญ P-value < 0.05 ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยทั้งหมด 9,840 ราย ยากันชักที่สั่งจ่ายมากที่สุด คือ กลุ่ม non-aromatic (ใน 7,925 ราย หรือ 80.54%) มีผู้ที่ประสบ ADRs 45 ราย (0.46%) ผู้ที่มี ADRs มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่ไม่มี ADRs อย่างมีนัยสำคัญ (13.65 ± 24.78 และ 51.86 ± 18.63 ปี, ตามลำดับ, P-value < 0.001) พบผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักครั้งแรกอายุ ≤ 15 ปี ในกลุ่มที่มี ADRs มากกว่ากลุ่มที่ไม่มี ADRs อย่างมีนัยสำคัญ (77.79% และ 3.60%, ตามลำดับ, P-value < 0.001) ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ อาการผิดปกติทางผิวหนังเป็น ADRs ที่พบมากที่สุด (93.33%) โดยส่วนใหญ่พบผื่นลักษณะ maculopapular (53.33%) สาเหตุส่วนใหญ่ของ ADRs เกิดจากยา phenytoin สรุป: อุบัติการณ์ของ ADRs จากยากันชักเท่ากับ 0.46% อาการผิดปกติทางผิวหนังเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด (93.33%) ดังนั้นควรให้คำแนะนำผู้ป่วยให้เฝ้าระวัง ADRs จากยากันชัก รวมถึงยาอื่น ๆ ที่ได้รับเป็นครั้งแรก คำสำคัญ: ยากันชัก, อาการไม่พึงประสงค์จากยา, อาการผิดปกติทางผิวหนัง, ปฏิกิริยาทางผิวหนังที่รุนแรงAbstract Objective: To determine the incidence and clinical characteristics of antiepileptic drugs (AEDs) related adverse reactions (ADRs) in out-patients who received first prescription of AEDs. Methods: In this retrospective cohort study, out-patients at Chiangrai Prachanukroh Hospital, Thailand receiving first prescription of antiepileptic drugs between 1 July 2018 and 30 June 2019 were evaluated. Demographic characteristics of the patients and ADRs were summarized using descriptive statistics. Differences between two groups (patients with and without ADRs) were compared using Chi-square test or Fisher’s exact test for continuous variables and student t-test or Mann-Whitney U test for continuous variables, as appropriate. A two-sided P-value < 0.05 was considered statistically significant. Results: Among the 9,840 patients recruited, the most frequently prescribed drug was non-aromatic AEDs (7,925 cases or 80.54%). The incidence ADRs from AEDs was 45 in 9,840 patients (0.46%). Patients with ADRs were significantly younger than those without ADRs (13.65 ± 24.78 and 51.86 ± 18.63, respectively, P-value < 0.001). There were significantly more patients aged ≤ 15 years when first receiving AEDs in those with ADRs than those without ADRs (77.79% and 3.60%, respectively, P-value < 0.001). No significant difference regarding gender was found. Skin reactions were the most found ADR (93.33%) with maculopapular rash as the most symptom found (53.33%). Phenytoin was the most common cause of ADRs. Conclusion: The incidence of ADRs from AEDs was 0.46% with skin reactions as the most ADR symptoms (93.33%). Surveillance of ADRs is strongly recommended for as the safety of AEDs and all first prescription of medications. Keywords: antiepileptic drugs, adverse drugs reactions, skin reactions, severe cutaneous adverse reactionsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-09-28
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์