การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้จัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ The Development and Validation of a Transformational Leadership Instrument for Primary Care Managers
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้จัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปริมาณนี้สำรวจในผู้จัดการหน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 99 คน ในจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยแบบสอบถาม 60 ข้อโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 การศึกษานำร่องรายงานค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคที่ 0.98 รวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการศึกษา: ผลการวิจัยแสดงระดับที่ดีของการปรับโครงสร้างปัจจัยและค่าความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับได้ โครงสร้างทั้งสี่ปัจจัยที่มี 16 ข้อแสดงค่าดัชนีทดสอบความสอดคล้องแบบสัมบูรณ์ดีที่สุด ผลการทดสอบ EFA เป็นที่ยอมรับได้ ดังนี้ (a) ค่า Communality มากกว่า 0.50 (b) ค่า Factor loading ของทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.63 - 0.85 (c) ค่า Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy เท่ากับ 0.85 (d) Variance explained เท่ากับ 71.45% และค่า Eigenvalue ในทุกองค์ประกอบมากกว่า 1 (e) การทดสอบ Bartlett’s test of sphericity มีค่าน้อยกว่า 0.001 แต่ละข้อภายในปัจจัยเดียวกันมีความสัมพันธ์ที่เหมาะสม โดยความสัมพันธ์ระหว่างข้ออยู่ระหว่าง 0.44 - 0.67 สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคแต่ละปัจจัยอยู่ระหว่าง 0.84 - 0.88 ค่า CFA จากการประเมินตอนแรกของสี่โครงสร้างให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ค่า Chi-square เท่ากับ 148.27 กับ Degrees of freedom เท่ากับ 98 อย่างมีนัยสำคัญที่ P -value < 0.001 ตัวบ่งชี้ความเหมาะสมอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าเป็นโครงสร้างที่ดี (CFI = 0.99, RMSEA = 0.07 และ SRMR = 0.06) สรุป: ข้อแนะนำสำหรับแบบวัดนี้คือควรนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้จัดการหน่วยบริการปฐมภูมิตามขีดความสามารถของแบบวัดที่จะใช้ร่วมกันกับบริบทอื่นได้ คำสำคัญ : ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้จัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ, การพัฒนา, ความเที่ยงตรงAbstract Objective: To develop and validate an instrument measuring transformational leadership for primary care managers. Method: This quantitative research was carried out among 99 managers at primary care units in Nakhon Si Thammarat using simple random sampling with 60-item questionnaires. The quality of the tool was tested by experts and the values of the Index of Item Objective Congruence ranged between 0.80 - 1.00. A pilot test study reported a Cronbach’s alpha coefficient of 0.98. Data collection was performed via an online questionnaire. Data were analyzed using Exploratory Factor Analysis (EFA) and Confirmatory Factor Analysis (CFA). Results: Results showed good levels of adjustment to the factor structure, and the reliability values were acceptable. The four-factor structure with 16 items displayed the best absolute fit indices. The EFA test results were acceptable as follows: (a) communality was greater than 0.50, (b) factor loadings of all items were between 0.63-0.85, (c) Kaiser-Meyer-Olkin measure of sampling adequacy was 0.85, (d) the rate of explained variance was 71.45% and the eigenvalue was greater than 1, and (e) Bartlett’s test of sphericity was less than 0.001. Each item within the same factor had a suitable correlation with the Inter-Item Correlation, which ranged between 0.44 - 0.67. Each factor’s Cronbach’s alpha coefficient was between 0.84 - 0.88. The CFA results of the original assessment of four constructs gave a satisfactory outcome. The chi-square value of 148.27 with 98 degrees of freedom was significant at P-value < 0.001. Other fit indicators showed that this was a decent fit (CFI = 0.99, RMSEA = 0.07, and SRMR = 0.06). Conclusion: It is strongly suggested that this measuring instrument be used within the boundaries of its generalizability in applied transformational leadership research for primary care managers. Keywords: transformational leadership, primary care manager, development, validationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-09-28
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์