เทคโนโลยีจำลองตัวละครในการสอนและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ Avatar-based Technology Interventions in Patient Education: A Systematic Integrative Review

Authors

  • Jintana Tongpeth
  • Natkritta Chaowararak

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนวรรณกรรมและหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีจำลองตัวละครในการสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลและความรู้ทางสุขภาพให้กับผู้ป่วย วิธีการศึกษา: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบนี้คัดเลือกเฉพาะงานวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ได้แก่ CINAHL, MEDLINE, PubMed, Scopus, Cochrane  และ EMBASE  รวมทั้งมีการประเมินคุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยที่คัดเลือก  ผลการศึกษา: มีงานวิจัยจำนวน 6 เรื่องที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์พบว่าการใช้เทคโนโลยีจำลองตัวละครในการเพิ่มความรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย แต่พบว่ายังมีหลักฐานงานวิจัยที่ยังไม่ชัดเจนและเพียงพอที่จะประเมินประสิทธิผลของรูปแบบเทคโนโลยีจำลองตัวละครต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้ป่วย สรุป: การทบทวนวรรณกรรมนี้พบงานวิจัยเพื่อพิจารณาพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีจำลองตัวละคร และเทคโนโลยีจำลองตัวละครเป็นเครื่องมือให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในบริบททางสุขภาพต่าง ๆ ได้มากกว่าการให้ความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ พบองค์ประกอบของการใช้รูปแบบเทคโนโลยีการจำลองตัวละครที่สามารถประยุกต์ใช้พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป คำสำคัญ: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ, เทคโนโลยีจำลองตัวละคร, การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก, การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย  Abstract Objective: To review the evidence for the avatar-based technology as an innovative and emerging intervention for delivery of health education in clinical practice. Method: This review followed a systematic review methodology. Randomised controlled trials in English language were searched in CINAHL, MEDLINE, PubMed, Scopus, Cochrane and EMBASE. Articles were assessed for quality of methodology. Results: Six randomised controlled trials met the eligibility criteria and were included in the review. Avatar-based technology interventions improved health knowledge, and health-relate behaviour. There was insufficient evidence to suggest the effectiveness of Avatar-based interventions on, self-efficacy, and of the interventions among the participants were unclear. Conclusion: This review established a scientific basis for avatar-based technology as an effective intervention for the transfer of knowledge and skill development for patients. Avatar-based education tools have a clear advantage over paper-based education materials. This review provides nurses with the state of science in relation for the avatar-based technology interventions in patient education. A summary of intervention components are provided to assist nurses to develop and use the avatar-based interventions in clinical practice. Keywords: systematic integrative review, avatar-based technology,             nursing practice, patient education

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-30