ตำรับยาแผนไทยสำหรับโรคสะเก็ดเงินและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรในตำรับ Thai Traditional Medicines for Psoriasis and Their Herbal Pharmacological Activities
Abstract
บทคัดย่อ โรคสะเก็ดเงินจัดว่าเป็นปัญหาหนึ่งในสิบอันดับแรกของโรคผิวหนัง แต่ยังไม่ทราบสาเหตุโรคอย่างแน่ชัด ตลอดจนการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาค่อนข้างมาก แต่ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้มีทฤษฎีการเกิดโรคสะเก็ดเงินจากภาวะไม่สมดุลของธาตุในร่างกายที่นำมาซึ่งแนวคิดในการตั้งตำรับยาตามหลักเภสัชกรรมไทยที่ให้รสยาปรับสมดุลธาตุในร่างกาย โดยมีการรักษาส่วนใหญ่ 2 วิธีคือรักษาโดยยาต้มดื่มและยาอาบ ซึ่งสมุนไพรในตำรับยาส่วนใหญ่จะมีรสยาตามรส 9 ประมาณ 3 รส คือ เมาเบื่อ เค็ม และเปรี้ยว ซึ่งเมื่อพิจารณาสมุนไพรในตำรับยาพบว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาร่วมกัน 5 กลุ่มคือ ต้านการอักเสบ ระบาย ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อจุลชีพ และกดภูมิคุ้มกัน โดยยาสมุนไพรตำรับดังกล่าวเป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคของผู้ป่วย หรืออาจเป็นแนวทางในการนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในตำรับมาพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันในอนาคต คำสำคัญ: ตำรับยารักษาโรคสะเก็ดเงิน, สมุนไพร, ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา Abstract Psoriasis is one of the top-ten dermatological problems with unclear etiology. Conventional treatment for psoriasis is associated with drug adverse effects. Based on Thai traditional medicine, psoriasis is originated by element imbalance which in turn served as the basis for traditional therapeutic remedies. According to Thai traditional pharmacy, various herbal flavors help balance the body elements. Two administrations of the traditional herbs include tea drinking and bathing. Based on the “nine flavrs” basis, most herbal formulas have three flavors including bitter, salty and sour. Herbs in there formulas exert five pharmacological activites including anti-inflammation, laxative, antioxidation, antimicrobials, and immunosuppression. These herbal medicine could be an alternative treatment for psoriasis or developed into modern medicine for psoriasis. Keywords: psoriasis recipe, medicinal plant, pharmacological activityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-30
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์