ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน Psychological Well-being among Community-Dwelling Older Adults Living with Chronic Illnes
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางใจดังกล่าว วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน จ.ระยอง จำนวน 148 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิต การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางใจ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและความผาสุกทางใจของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์อำนาจการทำนายของปัจจัยต่อความผาสุกทางใจของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกทางใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 50.95, SD = 5.95) เมื่อวิเคราะห์อำนาจการทำนายพบว่าการรับรู้ความสามารถของตนเอง (b = 0.430) การมองโลกในแง่ดี (b = 0.264) และการสนับสนุนทางสังคม (b = 0.169) สามารถร่วมทำนายความผาสุกทางใจของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 37.9 (R2 = 0.379, P–value < 0.001) สรุป: การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้ พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความผาสุกทางใจมากขึ้น โดยเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนทางสังคมคำสำคัญ: ความผาสุกทางใจ, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน, การมองโลกในแง่ดี, ความพึงพอใจในชีวิต, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม Abstract Objective: To identify level of and factors affecting psychological well-being among community-dwelling older adults living with chronic illness. Method: In this predictive correlation research, 148 community-dwelling older adults living with chronic illness in Rayong province were recruited using the simple random technique. Research instruments included a questionnaire to gather data for demographic information, optimism, life satisfaction, perceived self-efficacy, social support, and psychological well-being. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. Results: Psychological well-being was at a moderate level (M = 50.95, SD = 5.95). The significant predictors of psychological well-being were perceived self-efficacy (b = 0.430), optimism (b = 0.264), and social support (b = 0.169). These predictors could together explain 37.9% of variance in psychological well-being (R2 = 0.379, P–value < 0.001). Conclusion: Nurses and other healthcare providers could apply these results to develop interventions or programs aiming at promoting psychological well-being among community-dwelling older adults living with chronic illness by focusing on perceived self-efficacy, optimism, and social support. Keywords: psychological well-being, community-dwelling older adults living with chronic illness, optimism, life satisfaction, perceived self-efficacy, social supportDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์