ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ในนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา Relationship between Health Literacy and Overweight and Obesity among Adolescent Students in Yala Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภูมิหลังส่วนบุคคลและครอบครัวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสายสามัญและสายอาชีพจังหวัดยะลา จำนวน 324 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคได้เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Chi-square test ผลการศึกษา: ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของนักเรียนวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) รายได้ครอบครัว (มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน) อาชีพของผู้ปกครอง (ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พ่อค้า นักธุรกิจหรือเอกชน) และระดับชั้นปีที่ศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 4 และประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2) มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: ผู้วางแผนนโยบายควรมุ่งเน้นการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในนักเรียนวัยรุ่นและผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพเกษตรกรและรับจ้างทั่วไปที่มีรายได้น้อยและการศึกษาต่ำ พร้อมทั้งฝึกอบรมให้บุคลากรสาธารณสุขสามารถเพิ่มทักษะของนักเรียนในการฟัง อ่าน พูด เขียน สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจและสามารถโน้มน้าวผู้อื่นให้ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ทักษะการสื่อสาร, ภาวะน้ำหนักเกิน, โรค อ้วน, นักเรียน Abstract Objective: To study the relationship between health literacy and overweight and obesity, and the relationship between personal and family backgrounds and health literacy. Method: A cross-sectional survey study was conducted on 324 upper secondary and vocational students in Yala province. A multistage sampling technique was used. The research instrument was a questionnaire, which was tested and resulted in a Cronbach's alpha coefficient of 0.87. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test. Results: Communication skills on health literacy were related to overweight and obesity among adolescent students (P-value < 0.05). Family income (greater than 10,000 Baht per month), occupation of parents (as government officials, state enterprise workers, merchants, businessmen, or private sector workers), and students’ year of study (1st year of high school or 2nd of vocational school) were related to communication skills on health literacy (P-value < 0.05). Conclusion: Policy planners should focus on developing communication skills on health literacy to prevent overweight and obesity among teenage students, especially those with parents who are farmers and general contractors with low incomes and low education levels. Public health personnel should be trained to promote student skills in reading, speaking, writing, and communicating information to assist others in understanding the issues related to overweight and obesity, and to persuade others to accept the relevant practical guidelines. Keywords: health literacy, communication skills, overweight, obesity, studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์