Factors Predicting the Evidence-Based Practice Implementation for Postpartum Hemorrhage Management among Intrapartum-Nurses in Community Hospitals

Authors

  • Jiranee Panyapin
  • Wanee Deoisares
  • Nujjaree Chaimongkol

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยในการทำนายการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้จัดการภาวะตกเลือดหลังคลอดในพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีกลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลห้องคลอดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 275 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา: ตัวแปรที่มีอิทธิพล ได้แก่ บรรยากาศองค์กรสำหรับการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้  ตามด้วยจำนวนปีของการทำงานในงานห้องคลอด การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ การยอมรับนวัตกรรม การสนับสนุนในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ขององค์กร และการรับรู้อุปสรรคในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ (b = 0.261, 0.222, 0.206, 0.166, 0.138 และ -0.128, ตามลำดับ, P-value < 0.05 ทั้งหมด) ส่วนการรับรู้คุณลักษณะของแนวปฏิบัติทางคลินิกเป็นตัวแปรเดียวที่ไม่มีอิทธิพล โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ได้ร้อยละ 27.6 (R² = 0.276, P-value < 0.01) สรุป: พบปัจจัยที่ทำนายการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้จัดการภาวะตกเลือดหลังคลอดในพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งผู้บริหารการพยาบาลอาจนำไปพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีในการป้องกันและจัดการภาวะตกเลือดหลังคลอด คำสำคัญ: การนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, พยาบาลห้องคลอด Abstract Objective: To examine factors predicting the implementation of evidence-based practices (EBPs) for postpartum hemorrhage (PPH) management among intrapartum nurses in community hospitals. Method: In this cross-sectional study, a multi-stage sampling technique was used to recruit a sample of 275 intrapartum nurses in community hospitals from March to June 2019. Data were collected using self-administered questionnaires. Descriptive statistics and multiple regression were carried out to analyze data. Results: Significant predictors were organizational climate for EBPs implementation, followed by years of experiences in delivery room, large community hospital, personal innovativeness, organizational support and perceived barriers (b = 0.261, 0.222, 0.206, 0.166, 0.138 and -0.128, respectively, P-value < 0.05 for all). Perceived characteristic of clinical practice guideline was not a significant predictor. These six factors altogether could explain 27.6% of the variance of implementation of EBP for management of PPH (R² = 0.276, P-value < 0.01). Conclusion: Factors predicting the implementation of EBPs for PPH management among intrapartum nurses in community hospitals were identified. The findings could be useful in developing nursing intervention to enhance EBPs implementation to achieve clinical outcomes of PPH prevention and management. Keywords: Implementation of evidence-based practice, postpartum hemorrhage, intrapartum-nurse

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-30