Effectiveness of Nursing Guideline to Prevent Postpartum Hemorrhage on Blood Loss and Rate of Postpartum Hemorrhage after Cesarean Section

Authors

  • Jurairut Meetipkit
  • Tippawan Iamchareon

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการใช้แนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด ต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและอัตราการเกิดตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด ระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวทางการพยาบาล วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรมสามัญ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2561 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 60 ราย และกลุ่มทดลอง 66 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด 2) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด และ3) แบบบันทึกข้อมูลการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดจากเวชระเบียน แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดมีความตรงเชิงเนื้อหาดี (CVI = 0.93) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Mann-Whitney U test และ Chi-square test ผลการศึกษา: มารดาหลังผ่าตัดคลอดกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณการสูญเสียเลือดหลังผ่าตัดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด ส่วนกลุ่มควบคุมมีภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด 1 ราย อัตราการเกิดตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดรายใหม่ในสองกลุ่มไม่ต่างกัน สรุป: การใช้แนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดสามารถเพิ่มคุณภาพในการป้องกันการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดได้ คำสำคัญ: แนวทางการพยาบาล, ป้องกันตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด, มารดาผ่าตัดคลอด, อัตราการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด Abstract Objective: To evaluate the effectiveness of nursing guideline to prevent postpartum hemorrhage on the amount of blood loss and the rate of the hemorrhage after Cesarean section between groups before and after using the guideline. Method: The sample consisted of mothers undergone Cesarean section who were admitted to the obstetric and gynecological ward of a hospital from July to December 2018. A total of 60 mothers were in the control group and 66 in the test group. The research instruments consisted of 1) a nursing guideline for preventing postpartum hemorrhage, 2) risk assessment checklist for post-Cesarean section hemorrhage, and 3) data collection form of postpartum hemorrhage from medical records. Risk assessment checklist had a high level of content validity (CVI = 0.93). Descriptive statistics, Mann-Whitney U test and Chi-square test were used in data analysis. Results: The test group had a significantly lower mean post-operative blood loss than the control group (P-value < 0.001). No post-operative hemorrhage in the test group and 1 in the control group were found. Rates of new postpartum hemorrhage in the two groups were not different. Conclusion: Nursing guidelines to prevent postpartum hemorrhage could improve quality of post Cesarean section hemorrhage prevention. Keyword: nursing guideline, post-Cesarean section hemorrhage, Cesarean section, rate of post cesarean section hemorrhage.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-30