ความสัมพันธ์ระหว่างทารกแรกเกิดตัวเล็กกับดัชนีมวลกายต่ำก่อนตั้งครรภ์ Relationship between Small for Gestational Age Newborns and Pre-pregnancy Low Body Mass Index

Authors

  • Watcharee Dankul
  • Lawan Ratasathien
  • Watina Thatayu

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายต่ำก่อนตั้งครรภ์ของมารดากับภาวะทารกแรกเกิดตัวเล็ก วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2560 (1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2560) รวบรวมข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวจำนวน 421 คนที่ฝากครรภ์และคลอดทารกน้ำหนักน้อยที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตัดสินภาวะทาแรกเกิดตัวเล็กโดยเกณฑ์ standard intrauterine growth curve of Thai neonates นำปัจจัยดัชนีมวลกายต่ำก่อนตั้งครรภ์ คุณลักษณะส่วนบุคคลอื่น ๆ ปัจจัยการตั้งครรภ์และฝากครรภ์มาพิจารณา ใช้สถิติการถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา: เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคลของมารดา พบว่าตัวแปรที่สัมพันธ์กับโอกาสที่มารดาจะคลอดทารกแรกเกิดตัวเล็ก ได้แก่ ดัชนีมวลกายต่ำก่อนตั้งครรภ์ (OR = 2.392; 95% CI = 1.0677 – 5.3617) การฝากครรภ์ครั้งแรกช้า (OR = 2.149; 95% CI =  1.1568 – 3.9943) ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ (OR = 1.988; 95% CI =  1.0760 – 3. 6738) อายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR = 50.191; 95% CI = 21.6794 – 116.1989) และการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 (OR = 0.404; 95% CI = 0.2063 – 0.7896) สรุป: ดัชนีมวลกายต่ำก่อนตั้งครรภ์ของมารดาสัมพันธ์อุบัติการณ์คลอดทารกตัวเล็ก ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าการมีดัชนีมวลกายที่เหมาะสม ตลอดจนการติดตามน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีอิทธิพลต่อการลดโอกาสคลอดทารกตัวเล็กและช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้คำสำคัญ: ทารกแรกเกิดตัวเล็ก, ดัชนีมวลกายต่ำ, ก่อนตั้งครรภ์ Abstract Objective: To investigate the association between low maternal pre-pregnancy body mass index (BMI) and the incidence of small for gestational age (SGA) newborns. Method: In this retrospective study, data were collected from 421 women with singleton pregnancy who had antennal care (ANC) and delivered newborn with low birth weight in the HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center (MSMC) Hospital from October 1, 2014, to September 30, 2017. The individual socio-demographic and maternity records were reviewed. SGA status was classified using the standard intrauterine growth curve of Thai neonates. A logistic regression analysis was conducted. Results: After controlling for individual socio-demographic factors, women with BMI < 18.5 kg/m2 (OR = 2.392; 95% CI = 1.0677 – 5.3617), late ANC registry (OR = 2.149; 95% CI =  1.1568 – 3.9943), obstetric complication (OR = 1.988; 95% CI =  1.0760 – 3.6738), gestational age at delivery < 37 week (OR = 50.191; 95% CI = 21.6794 – 116.1989) and the 2nd gravida (OR = 0.404; 95% CI = 0.2063 – 0.7896) were significantly associated with having SGA newborn. Conclusion: Low pre-pregnancy BMI was correlated SGA newborn. Appropriate maternal BMI at conception followed by adequate weight gain during pregnancy may help reduce the risk of SGA newborn and increase the birth weight. Keywords: small gestational age, low body mass index, pre-pregnancy  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-30