แนวคิดและการประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศในวัยรุ่น: การสังเคราะห์วรรณกรรม Concept and Measurement of Sexual Health Literacy in Adolescents: An Integrative Review

Authors

  • รพีพรรณ นาคบุบผา Rapeepan Narkbubpha
  • วรรณี เดียวอิศเรศ Wannee Deoisres

Abstract

บทคัดย่อ การสังเคราะห์วรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิดและองค์ประกอบของการประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศในวัยรุ่น วิธีการศึกษาใช้การสังเคราะห์วรรณกรรมของ Whittemore and Knafl (2005) โดยรวบรวมจากงานวิจัย ตำรา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2559 พบทั้งหมด  18  เรื่อง ผลการสังเคราะห์มีดังนี้ 1) องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศในวัยรุ่น มีจำนวน 6 องค์ประกอบ คือ ก) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพทางเพศและบริการด้านสุขภาพทางเพศ ข) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ค) ทักษะการสื่อสารเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ง) ทักษะการจัดการตนเองเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ จ) ทักษะการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ และ ฉ)การรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ นอกจากนี้ สามารถแบ่งระดับการรู้เท่าทันได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ขั้นพื้นฐาน ระดับที่ 2 ขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ และระดับที่ 3 ขั้นวิจารณญาณ และ 2) องค์ประกอบสำคัญของการวัดเพื่อประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศในวัยรุ่น เน้นการวัดความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การคุมกำเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สภาพทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์ ผลการสังเคราะห์วรรณกรรมสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการพยาบาล เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศของวัยรุ่น รวมทั้งพัฒนาวิธีการวัดผลเพื่อประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศได้อย่างมีประสิทธิภาพคำสำคัญ: แนวคิดการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศ, ประเมินการรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศ, การรู้เท่าทันสุขภาพทางเพศในวัยรุ่นAbstract This literature synthesis aimed to explicate the concept and components of measurement for evaluating sexual health literacy in adolescents. This review was guided by Whittemore and Knafl’s (2005) integrative review framework. A comprehensive search of articles and books in English and Thai published between 2006 and 2016. Based on the 18 studies yielded, findings were as follows. First, six components of sexual health literacy in adolescents included a) access to sexual health and sexual health service information, b) knowledge and understanding of sexual health, c) communication skills for sexual health, d) self-management skills for sexual health, e) decision-making skills for sexual health and f) media literacy about sexual health. Furthermore, the aforementioned components could be classified into the following three levels of sexual health namely functional, interactive and critical levels. Second, the significant components of measurement for evaluating sexual literacy in adolescents emphasized measuring knowledge about physiological changes in puberty, contraception, sexually transmitted diseases, sexuality and sexual intercourse. The findings from this literature synthesis can serve as a guideline for nursing curriculum development in adolescent sexual health literacy promotion and measurement methods development for the efficient assessment of sexual health literacy. Keywords: concept of sexual health literacy, measurement of sexual health literacy, sexual health literacy in adolescents.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-12-21