ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลชุมชนบ้านนา จังหวัดนครนายก Factors Affecting Kidney Failure in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Banna Community Hospital, Nakhonnayok Province
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิก รพ.บ้านนา จำนวน 3,250 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic random sampling) โดยเรียงลำดับตาม HN 1 คนเว้น 1 คน ได้คนไข้ 1,254 คน ใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้ค่า eGFR สะท้อนระดับภาวะไตเสื่อม ใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น (stepwise linear regression) ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสระดับ eGFR ของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ (P-value < 0.05) ได้แก่ ค่าชีวเคมี ซึ่งค่าที่สัมพันธ์ทางลบ ได้แก่ creatinine ในเลือด (B = -44.28), HbA1C (B = -1.08) และ BUN (B = -0.49) และสัมพันธ์ทางบวกกับ HDL (B = 0.06) โดยทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของค่า eGFR ได้ร้อยละ 75 (R2 = 0.75) ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพมีเพียงพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลที่สัมพันธ์กับระดับ eGFR ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = -1.488) โดยอธิบายความแปรปรวนของระดับ eGFR ได้ร้อยละ 15 ทั้งนี้ ค่าดัชนีมวลรวมของร่างกาย (B = -0.407) และระยะเวลาเป็นเบาหวาน (B = -0.377) ที่สัมพันธ์กับ eGFR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสามารถทำนายความแปรปรวนของ eGFR ได้ร้อยละ 19 สรุป: ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ creatinine HbA1C BUN HDL การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และดัชนีมวลรวมของร่างกายคำสำคัญ: เบาหวาน, ภาวะไตเสื่อม, ปัจจัยเสี่ยงAbstract Objective: To determine factors affecting the risk of kidney failure in diabetes patients in community hospital. Method: In this retrospective study, study population was 3,250 patients in diabetic clinic at Banna Hospital. A sample of 1,254 patients was selected using systematic random sampling with alternate HN. Descriptive statistics with mean with standard deviation and frequency with percentage were used. Stepwise linear regression analysis was used to examine factors affecting the eGFR as kidney failure indicator. Results: Factors significantly associated with eGFR (P-value < 0.05) were biochemistry factors with serum creatinine (B = -44.28), HbA1C (B = -1.08) and BUN (B = -0.49) of negative relation and HDL (B = 0.06) of positive relation. These factors could explain 75% of eGFR variance (R2 = 0.75). For health behavior factors, only alcohol or alcoholic beverage intake was negatively associated with eGFR (B = -1.488) with 15% eGFR variance exaplained. In addition, body mass index (BMI) (B = -0.407) and duration of diabetes diagnosis (B = -0.377) were associated with eGFR with 19% variance explained. Conclusion: Factors affecting the decline of eGFR were serum creatinine, HbA1C, BUN, HDL, alcohol or alcoholic beverage intake, duration of diabetes diagnosis and BMI. Keywords: diabetes, kidney failure, risk factorsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-21
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์