Effects of Music-based Group Reminiscence Program on Depression in the Elderly at Social Welfare Development Center for Older Persons
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบกลุ่มด้วยการใช้ดนตรีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา:การวิจัยกึ่งทดลองมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอายุ 60 -75 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2561 ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยและปานกลางได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 24 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีจับฉลากกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบกลุ่มด้วยการใช้ดนตรี 7 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตามแนวข้อคำถามในแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย และแบบทดสอบสภาพจิตจุฬาที่ก่อนการทดลอง เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม และที่การติดตามผลหลังโปรแกรม 3 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคว์สแควร์ สถิติ Independent t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการศึกษา: 1) ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าเสร็จสิ้นโปรแกรมและในระยะติดตามผล 3 สัปดาห์ต่ำกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) 2) ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าเมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรมและที่ติดตามผล 3 สัปดาห์ ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) สรุป: โปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบกลุ่มด้วยการใช้ดนตรีมีผลในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุสามารถนำโปรแกรมไปใช้ลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุ และควรวิจัยเพื่อพัฒนาโปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบกลุ่มด้วยการใช้ดนตรีให้นำไปใช้ในผู้สูงอายุกลุ่มอื่นได้ต่อไป คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมเศร้า, โปรแกรมการระลึกถึงความหลังแบบกลุ่มด้วยการใช้ดนตรีAbstract Objective: To determine effects of the music-based group reminiscence program on depression in the elderly at a social welfare development center for older persons. Method: In this quasi-experimental research, the sample was persons aged 60-75 years old who had mild or moderate depression in the Ban Bang Lamung Social Welfare Development Center, Chonburi in 2018 who met inclusion criteria. Twenty participants were selected by simple random sampling and assigned either to the experimental group or the control group (12 each). The experimental group received the music-based group reminiscence program for a total of 7 session for 4 weeks. The control group had received a usual nursing. Data were collected from both groups at pre-test, post-test and 3-week follow-up. The research instruments included the music-based group reminiscence program, Thai Geriatric Depression Scale, and Chula Mental Test. The statistics used were frequencies with percentage, mean with standard deviation, Chi-square, Independent T-test, and repeated measure analysis of variance with Bonferroni correction. Results: Depression mean scoresin the experimental group at the post-test and 3-week follow-up were significantly lower than the control group (P-value < 0.05). Depression mean scores in the experimental group at the post-test and 3-week follow-up were significantly lower than the pre-test (P-value < 0.05). Conclusion: Music-based group reminiscence program was effective in reducing depression in the elderly. Nurses taking care of the elderly in the social welfare development center could use the program to alleviate depression among elderly people. More studies should be carried out in the elderly in other settings. Keywords: elderly, depression, music-based group reminiscence programDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-21
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์