การรับรู้ผลสัมฤทธิ์ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ป่วย ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ Patients’ Perception towards Treatment Efficacy of Upper Respiratory Infection and Acute Diarrhea in Primary Care Units

Authors

  • Suchada Japakasetr
  • Jintana Soonthornvivat

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Upper Respiratory Infection; URI) และอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea; AD) ตามการรับรู้ของประชาชนที่มารับบริการ ณ หน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มารับการรักษา URI จำนวน 65 คน และ AD จำนวน 61 คน ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา:ผู้ป่วย URI และ AD ที่มารับบริการรักษา ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ รับรู้ว่าตนเองมีอาการดีขึ้นถึงหายเป็นปกติจากอาการเจ็บคอและถ่ายเหลวโดยไม่ได้รับยาปฏิชีวนะร้อยละ 86.0 และ 96.0 และการที่ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามคำแนะนำมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ว่าตนเองหายหรือดีขึ้นจากอาการเจ็บคอและมีเสมหะจาก URI (P-value = < 0.001 สำหรับทั้งสองอาการ) และอาการอ่อนเพลียจาก AD (P-value = 0.010) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรับบริการในภาพรวมในระดับดีมากถึงมากที่สุดร้อยละ 79.4และจะกลับมารับบริการ ณ หน่วยบริการปฐมภูมิเดิม หากมีอาการ URI และ AD อีกร้อยละ 88.9 สรุป: ผู้มารับบริการรักษา URI และ AD ส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองมีอาการดีขึ้นถึงหายเป็นปกติแม้ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ มีความพึงพอในการรับการรักษาทั้งสองโรคอยู่ในระดับสูง และเลือกที่จะกลับมารับบริการ ณ หน่วยบริการปฐมภูมิเดิมอีก บุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วยและรักษาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องคำสำคัญ: การรับรู้, ผลสัมฤทธิ์ของการรักษา,โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน, อุจจาระร่วงเฉียบพลัน, หน่วยบริการปฐมภูมิAbstract Objective: To assess treatment efficacy of upper respiratory infection (URI) and acute diarrhea (AD) regarding patients’ perception at primary care units (PCUs) of Muang district, Chachoengsao province. Method: This survey research was performed using self-administered questionnaire for 65 URI- and 61 AD patients. Collected data were analyzed using descriptive statistics and chi-square test. Significant difference was assumed at a confidence interval of 95%. Results: The proportions of patients noven given antibiotics and felt better or recover from sore throat and diarrhea were 86.0% and 96.0%, respectively. Compliance to self-care advice during URI or AD episode was significantly correlated with perceived efficacy of being cured and better combined for sore throat, and cough/phlegm for URI (P-value < 0.001 for both) and weakness for AD (P-value = 0.010). The proportion of URI and AD patients with highly and highest satisfaction combined was 79.4%. Most decided to return for treatment for future URI or AD episodes, if any (88.9%). Conclusion: Most patients with URI and AD without the use of antibiotics reported cured or getting better. They were highly satisfied with the treatment and would return to the same PCUs for the future similar illness. Healthcare providers should provide information for self-care and maintain care quality. Keywords:patients’perception, treatment efficacy, upper respiratory infection, acute diarrhea

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-12-21