รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล A Causal Model of Social Intelligence among Nursing Students
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาชนิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีที่อยู่ในจังหวัดชลบุรีจำนวน 450 คน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และคัดเลือกเข้าร่วมการวิจัยด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดเลือกตอบจำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความฉลาดทางสังคม แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้ แบบประเมินการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล แบบประเมินพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ และแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้างพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ปรับปรุงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถทำนายความแปรปรวนของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 72 (χ2 = 403.85, P-value < 0.001, df = 101, GFI = 0.91, CFI = 0.97, RMSEA = 0.08) ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลโดยตรงทางบวกกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล (b = 0.42, P-value < 0.001) ส่วนการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล พฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ และสัมพันธภาพในครอบครัวมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลโดยส่งผ่านความฉลาดทางอารมณ์ (b = 0.28, P-value < 0.001; b = -0.08, 0.03, 0.03, ตามลำดับ, P-value < 0.05 ทั้งหมด) สรุป: ผลการศึกษานี้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาพยาบาลในการทำงานหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น คำสำคัญ: ความฉลาดทางสังคม, ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษาพยาบาลAbstract Objective: To test a causal model of social intelligence among under-graduate nursing students. Methods: A predictive correlational study was performed with a stratified random sampling of 450 undergraduate nursing students in Chonburi who met criteria. Data were collected using seven self-administered questionnaires namely Nursing Student Information Form, Social Intelligence, Emotional Intelligence, Learning Style, Nursing Adaptation, Chat Addiction, and Family Relationship Questionnaires. The second to seventh questionnaires had Cronbach’s alpha coefficients of 0.83, 0.90, 0.89, 0.85, 0.92 and 0.84, respectively. Descriptive statistics and structural equation model were used for data analysis. Results: Structural equation modeling revealed that the modified model fitted with empirical data, explaining 72% of variance in social intelligence among nursing students (χ2 = 403.85, P-value < 0.001, df = 101, GFI = 0.91, CFI = 0.97, RMSEA = 0.08). Emotional intelligence had a positive direct impact on nursing students’ social intelligence (b = 0.42, P-value < 0.001). Moreover, nursing student adaptation, chat addiction, learning style, and family relationship had indirect effects on social intelligence of nursing students via emotional intelligence (b = 0.28, P-value < 0.001; b = -0.08, 0.03, 0.03, respectively, P-value < 0.05 for all). Conclusion: This research finding provides empirical knowledge about the mechanisms of casual model of social intelligence among undergraduate nursing students. This might develop appropriate interventions to improve nursing students’ ability to stay and work with others. Keywords: social intelligence, emotional intelligence, nursing studentsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-21
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์